รักษารากฟัน ฟันผุต้องรักษารากฟันมั้ย รากฟันอักเสบเป็นยังไง

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่ารากฟันมีปัญหา นอกจากอุบัติเหตุฟันเเตก ฟันผุเรื้อรังอาจเป็นสาเหตุที่นำความเสียหายมาสู่รากฟัน หรือชั้นโพรงประสาทฟันได้เช่นกัน ยิ่งคนไข้เข้ารับการรักษารากฟันอย่างรวมเร็วก็ช่วยลดความสูญเสียได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการแบบไหนที่กระทบกับรากฟัน รักษารากฟันจะเจ็บมั้ย มีขั้นตอนอย่างไร เตรียมตัวก่อนรักษายังไงดี บทความนี้มีคำตอบค่ะ

ทันตกรรม รักษารากฟัน - root canal treatment

รากฟันคืออะไร

รากฟัน(Root Canal) เป็นส่วนของปลายรากฟันในโครงสร้างฟันที่อยู่ชั้นในสุด ถัดจากเคลือบฟัน (Enamel) เเละเนื้อฟัน (Dentine) ประกอบไปด้วยเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึก เส้นเลือด และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ช่วยให้รากฟันเจริญเติบโต ฟันที่พัฒนาเต็มที่เเล้วจะสามารถอยู่ได้โดยปราศจากเนื้อฟัน เพราะยังได้รับการหล่อเลี้ยงจากเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ฟัน

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อฟัน เป็นชั้นฟันที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งเราภายนอก เช่น ความรู้สึกร้อน เย็น ทำให้ของเหลวที่อยู่ในท่อเล็กๆ ภายในเนื้อฟันเคลื่อนที่กระตุ้นเส้นประสาทและถ่ายทอดไปยังสมองเป็นความรู้สึกเสียวฟัน หรือปวดฟัน

รักษารากฟัน (Root canal treatment RCT)

การรักษารากฟัน คือ ขั้นตอนทางทันตกรรมที่นำเอาเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ ติดเชื้อจากแบคทีเรียที่อยู่ภายในบริเวณ โพรงประสาทฟันเเละรากฟันออก เพื่อรักษารากฟันธรรมชาติเอาไว้ ให้สามารถบูรณะกลับมาใช้งานได้ต่อไป ป้องกันการสูญเสียฟันจากการติดเชื้อ

โดยการรักษารากฟันจะมีขั้นตอนคร่าวๆ คือ ทำความสะอาดรากฟันให้ปราศจากเชื้อ เเละอุดรากฟัน บูรณะเนื้อฟันให้กลับมาเเข็งเเรง ใช้งานได้ตามปกติ
การรักษารากฟันจะต้องอยู่ภายใต้การดูเเลของทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน (Endodontist)

cosdentbyslc, root canal treatment, รักษาราก, รักษารากฟัน
รักษารากฟัน

ทำไมต้อง รักษารากฟัน

ฟันผุไม่ลึกบางซี่สามารถอุดฟันได้ แต่หากรอยผุลึกถึงเนื้อเยื่อข้างในตัวฟันจะทำให้เนื้อเยื่อ ในโพรงประสาทฟันติดเชื้อ อักเสบลุกลามไปสู่ปลายรากฟันและถึงกระดูกรอบ ๆ รากฟันในที่สุดเชื้อโรคที่อยู่ในโพรงประสาทฟันและรากฟันจะเจริญเติบโตสร้างสารพิษออกมาทำลายกระดูกรอบรากฟัน ทำให้เกิดเป็นหนองปลายรากฟัน เหงือกบวม หรืออาจจะถึงกับเป็นถุงน้ำของการติดเชื้อ (cyst) ที่ปลายรากฟันได้ หากไม่อยากถอนฟันเราก็จำเป็นต้องกำจัดเชื้อโรค ที่อยู่ในโพรงประสาทฟันและราก ฟันออกให้หมด โดยการ “รักษารากฟัน” เมื่อไม่มีเชื้อโรคแล้วกระดูกรอบรากฟันที่เคยถูกทำลายไป ร่างกายก็จะสร้างกระดูกขึ้นมาซ่อมแซมได้เอง การรักษารากฟัน เป็นงานที่ละเอียดอ่อนและยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากเป็นงานที่ต้องกำจัดเชื้อโรคในโพรงฟันและรากฟันซึ่งมีขนาดเล็กและอยู่ลึกเข้าไปในตัวฟัน ซึ่งมองไม่เห็นได้ด้วยตา

รักษารากฟันเจ็บไหม

ด้วยเทคโนโลยีทางทันตกรรมที่ทันสมัยในการรักษารากฟันร่วมกับการใช้ยาชา ​​การรักษารากฟันมักไม่เจ็บปวดมากไปกว่าการอุดฟัน การรักษารากฟันแต่เนิ่นๆ สามารถบรรเทาอาการปวดฟันที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อหรือการติดเชื้อที่ลุกลามได้มากขึ้น

อาการ รากฟันอักเสบ

  • ปวดฟันหรือเสียวฟันอย่างรุนแรง เมื่อเคี้ยวอาหาร
  • เจ็บเหงือก มีหนองบริเวณเหงือก
  • บวมที่บริเวณเหงือก,เพดาน หน้าบวม
  • เป็นหนองจากการติดเชื้อที่รากฟัน
  • มีเลือดออก
  • ฟันโยก
  • สีฟันเปลี่ยนไปจากเดิม สีฟันคล้ำขึ้น
  • มีความไวต่อความร้อนหรือเย็น

สาเหตุที่ทำให้รากฟันอักเสบติดเชื้อ

  • ฟันแตก ฟันร้าวหรือมีอาการฟันผุ ลึกมากจนถึงชั้นประสาทฟัน 
  • ฟันส่วนที่เคยอุดแตก เกิดจากติดเชื้อจากรอยแตกของฟัน
  • ได้รับอุบัติเหตุ เช่น หกล้มกระเเทก ฟันหัก ฟันหลุด
  • ปัญหาโรคเหงือก เชื้ออาจลุกลามเข้าสูโพรงประสาทฟันได้
  • นอนกัดฟันอย่างรุนแรง นอกจากฟันสึกแล้ว ยังทำให้ฟันร้าว เป็นสาเหตุที่เชื้อโรคแทรกซึมลงไปได้

ข้อดีของการรักษารากฟัน

  • บรรเทาอาการปวดฟัน
  • รักษาเเละบรูณะฟันเเท้ไว้ โดยที่ไม่ต้องใส่ฟันปลอมทดแทน
  • คนไข้กลับมาเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ป้องกันการอักเสบติดเชื้อที่อาจะลุกลามจนอาจสูญเสียฟันได้
  • ปกป้องฟันอื่น ๆ จากการสึกหรอมากเกินไป

การเตรียมตัวก่อนรักษารากฟัน

  • นัดหมายกับทันตแพทย์ ปรึกษาปัญหา ซักถามปัญหาต่างๆที่คุณกังวลใจ
  • คุณหมอจะตรวจสุขภาพฟัน วางแผนการรักษาแและนัดหมายกำหนดการอีกที
  • ถ้าคุณมีประวัติการแพ้ยา ควรแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย
  • ทันตแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะให้คุณก่อนการนัดหมายรักษารากฟัน เพราะคุณจะต้องฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันแพทย์ใช้ยาตามปริมาณที่แนะนำ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก่อนทำการรักษา
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย เนื่องจากหลังจากการรักษา คุณจะไม่สามารถรับประทานอาหารได้สะดวกในช่วง 3 วันหรือนานถึงหนึ่งสัปดาห์
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดบุหรี่ 24 ชม. ก่อนการรักษา

รักษารากฟัน กี่ครั้ง ถึงหาย

ในขั้นตอนรักษารากฟันให้เสร็จสมบูรณ์ โดยทั่วไปมีการนัดคนไข้มาที่คลินิก 2 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าฟันได้รับการทำความสะอาดอย่างทั่วถึง อุดฟัน และป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม

ครั้งแรกทันตแพทย์จะกำจัดส่วนที่ติดเชื้อเเละอักเสบออกให้หมด ในส่วนคลองฟันและเอาเส้นประสาทออกก่อน เพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณนั้น จากนั้นจะมีการอุดฟันชั่วคราวเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันติดเชื้ออีกครั้ง

การนัดหมายครั้งที่สอง ทันตแพทย์จะอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันถาวรให้กับคนไข้ และบรูณะฟันและรากฟันให้สมบูรณ์

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

ขั้นตอนการรักษารากฟันใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ต่อการรักษาในแต่ล่ะซี่

  1. ทันตแพทย์ตรวจช่องปาก ร่วมกับถ่ายภาพ x-ray เพื่อวัดความยาวของรากฟันเเละวางแผนการรักษา
  2. ทันตแพทย์จะให้ยาชากับคนไข้ เพื่อระงับความเจ็บปวดระหว่างรักษา
  3. ทันตแพทย์จะกรอฟัน เพื่อเปิดทางเข้าสู่รากฟัน
  4. กำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อ รวมถึงเส้นเลือด เส้นประสาทที่เสียหายทั้งหมดออก
  5. ทันตแพทย์ทำความสะอาดภายในรากฟันด้วยเครื่องมือพิเศษขนาดเล็ก เเละใส่น้ำยาฆ่าเชื้อเข้าไปในรากฟันเพื่อกำจัดเเบคทีเรีย
  6. ในขั้นตอนการทำความสะอาดนี้ อาจใช้เวลาประมาณ 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาวะการติดเชื้อของคนไข้ ระหว่างนี้ทันตแพทย์ใช้วัสดุอุดฟันชั่วคราวปิดทับไปก่อน
  7. เมื่อรากฟันอยู่ในสภาวะปลอดเชื้อเเล้ว ทันตแพทย์จะอุดปิดรากฟันด้วย กัตตาเปอร์ชา (Gutta-Percha) ซึ่งเป็นวัสดุประเภทยางเเล้วอุดปิดด้วยปูนอุดฟันอีกที เป็นการปิดช่องว่างไม่ให้เชื้อกลับเข้ามาได้อีก
  8. ทันตแพทย์บูรณะฟันหลังรักษารากฟัน
    – ถ้ามีเนื้อฟันเหลืออยู่มาก ทันตแพทย์จะบูรณะด้วยวัสดุอุดฟันตามปกติ 
    – ถ้ามีการสูญเสียเนื้อฟันมากจากอาการผุหรือการกรอตกแต่ง อาจจะต้องเสริมเดือยฟัน (Dental post) และใส่ครอบฟัน ช่วยพยุงโครงสร้างฟันให้รากฟันแข็งแรง เพื่อป้องกันฟันแตกหักได้
  9. ในกรณีที่คนไข้ไม่ต้องการรักษารากฟันหรือกรณีที่โครงสร้างของฟันเสียหายมากเกินกว่าที่จะบูรณะด้วยการรักษารากฟัน  ทันตแพทย์อาจพิจารณาการถอนฟัน ร่วมกับการใส่ฟันปลอม เพื่อป้องกันปัญหาฟันข้างเคียงล้ม กระดูกขากรรไกรยุบตัวเร็ว

ข้อแนะนำสำหรับใครที่ประสบอุบัติเหตุฟันแตก หรือเริ่มเห็นว่ามีอาการฟันผุ เข้ามารักษาฟันแต่เนิ่นๆ ก็ช่วยให้คุณรักษาฟันเเท้ไว้ได้โดยไม่ต้องมีการถอนฟัน หลีกเลี่ยงการสูญเสียฟันที่อาจตามมาได้

ระยะเวลาการพักฟื้นในการรักษารากฟัน

คนไข้อาจมีอาการปวดฟันช่วง 2-3 วันภายหลังการรักษา สามารถบรรเทาได้ด้วยยาระงับปวด พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน หากมีคนไข้มีอาการรุนแรงนานเกิน 1 สัปดาห์ ควรรีบแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ เพื่อเช็คว่ายังมีการอักเสบที่บริเวณรากฟันหรือไม่

โดยทั่วไป รากฟันฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้ภายในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ก็สามารถกลับมาเคี้ยวได้ตามปกติ

วิธีดูแลรากฟันหลังจากรักษารากฟันเสร็จ

รักษาสุขอนามัยในช่องปากให้ดีภายหลังการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ เพราะรากฟันมีส่วนเชื่อมต่อกับรากฟันและกระดูกรอบๆ บางส่วน เพื่อลดความเสี่ยงจากการภาวะแทรกซ้อน ควรปฏิบัติดังนี้

  • อย่าเพิ่งใช้งานฟันซี่ที่รักษารากฟัน ควรรอให้ฟันฟื้นตัวดีก่อน
  • แปรงฟันเบา ๆ สามารถใช้ไหมขัดฟันได้ตามปกติ
  • บ้วนปากด้วยน้ำหลังอาหาร
  • ดื่มน้ำมาก ๆ ตลอดทั้งวัน
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มและอาหารที่มีน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงการใช้ไม้จิ้มฟัน เพราะอาจทำให้รากฟันเสียหายได้
  • พบทันตแพทย์ตามนัดหมายเพื่อติดตามอาการ

เคล็ดลับการดูแลรากฟันมีอะไรบ้าง?

ภายหลังการรักษารากฟัน สิ่งสำคัญคือต้องรักษาความสะอาดของบริเวณนั้น แปรงฟันอย่างถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันกำจัดเศษอาหารตามซอกฟัน ร่วมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากต้านแบคทีเรียเพื่อป้องกันเชื้อโรค ถ้าคุณยังใส่วัสดุอุดชั่วคราวอยู่และยังไม่ได้รับครอบฟันถาวร ให้หลีกเลี่ยงการเคี้ยวฟันที่รักษาแล้วจนกว่าครอบฟันจะเข้าที่

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษารากฟัน

ผลข้างเคียงหลังรักษารากฟันอาจเเตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพฟันของเเต่ละคน
–  อาการปากชา เกิดขึ้นได้หลังจากทำการรักษารากฟัน 2-4 ชั่วโมง จึงควรเว้นการรับประทานอาหารในช่วงที่ยาชายังออกฤทธิ์ ป้องกันการกัดลิ้นและกระพุ้งแก้ม
– อาการปวดฟัน พบได้ในช่วง 2-3 วันแรกหลังการรักษา แนะนำให้ทานยาแก้ปวดเพื่อระงับอาการ

รักษารากฟัน ต้องครอบฟันไหม

ในกรณีส่วนใหญ่ คนไข้จะต้องทำครอบฟันเพื่อป้องกันรากฟันซี่ที่รักษาและฟื้นฟูการกัดให้ดีขึ้น ครอบฟันจะถูกสั่งทำเฉพาะบุคคล โดยปกติใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ เมื่อครอบฟันของคนไข้พร้อมแล้ว การอุดชั่วคราวจะถูกเอาออกและใส่ครอบฟันถาวร ในบางกรณี คุณอาจได้การติดครอบฟันในระหว่างการนัดหมายเดียวกัน

FAQ: รักษารากฟัน

ในการรักษารากฟัน เป็นการรักษาเพื่อเก็บฟันธรรมชาติเอาไว้ ด้วยการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงเนื้อเยื่อรากฟัน เส้นประสาททั้งหมดที่ติดเชื้อออก เเล้วอุดปิดฟัน ร่วมมกับการทำเดือยและใส่ครอบฟันด้วย เพื่อความเเข็งเเรง

  1. รู้ได้ยังไงว่ากำลังมีรากฟันอักเสบ

    คนไข้สามารถสังเกตได้จาก อาการปวดฟันรุนแรงหรือเสียวฟันเมื่อรับประทานอาหาร มีอาการบวมที่บริเวณเหงือกหรือหน้าบวม มีหนองหรือเลือดออก รู้สึกว่าฟันหลวมหรือฟันโยก สีฟันคล้ำขึ้นจากเดิม ได้รับอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนฟัน หรือมีอาการฟันผุเรื้อรัง
    การรักษารากฟันเป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้าฟันของคุณถูกทำลายอย่างรุนแรงหรือมีฟันผุที่ลามไปถึงชั้นโพรงประสาทฟัน อาจเสี่ยงต่อการสูญเสียฟันได้ ควรปรึกษาทันตแพทย์เกี่ยวกับการรักษารากฟันและประเมินการรักษา

  2. อะไรคือความแตกต่างระหว่างการรักษารากฟันกับการการถอนฟัน

    ในการรักษารากฟัน เป็นการรักษาเพื่อเก็บฟันธรรมชาติเอาไว้ ด้วยการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงเนื้อเยื่อรากฟัน เส้นประสาททั้งหมดที่ติดเชื้อออก เเล้วอุดปิดฟัน ร่วมมกับการทำเดือยและใส่ครอบฟันด้วย เพื่อความเเข็งเเรง

    ส่วนการถอนฟัน เป็นการรักษาด้วยการถอนฟันซี่ที่มีปัญหาทิ้งไป ทันตแพทย์ใช้เครื่องมือที่ทำให้ฟันหลวมและดึงฟันซี่นั้นออกจากกระดูกขากรรไกร ร่วมกับการทำฟันปลอมทดแททนเพื่อป้องกันฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียงเคลื่อนที่

  3. รักษารากฟันหรือถอนฟัน แบบไหนดีกว่า

    ทันตแพทย์จะเเนะนำเเนวทางการรักษา เพื่อคงฟันธรรมชาติไว้ เพราะฟันแท้มีความเเข็งเเรง ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าฟันเทียมเเน่นอน ที่สำคัญการรักษาด้วยการถอนฟัน คนไข้ต้องทำฟันเทียมเพื่อป้องกันฟันล้มที่ตามมาด้วย ซึ่งฟันเทียมจะไม่ได้ให้ความรู้สึกเหมือนกับฟันแท้ เเละยังมีโอกาสที่มีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว ความรำคาญที่ต้องใส่ฟันปลอมตามมาอีกด้วย

  4. ฟันที่ได้รับการรักษารากฟัน สามารถอยู้ได้นานขนาดไหน

    ฟันที่ได้รับการรักษาสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตเหมือนหกับฟันตามธรรมชาติ เมื่อได้รับการดูแลสุขอนามัยของช่องปากและฟันอย่างเหมาะสม พบทันตแพทย์สม่ำเสมอ ป้องกันสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ อย่าลืมว่าฟันที่รักษาเเล้วก็กลับมาผุหรือเกิดปัญหาโรคเหงือกภายหลังได้หากละเลยความสะอาด

  5. รักษารากฟัน ใช้เวลามั้ย

    ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของฟันซี่ที่ติดเชื้อ ขั้นตอนการทำความสะอาดกำจัดเชื้อแบคทีเรียในคลองรากฟัน อาจใช้เวลา 2-3 ครั้ง เเต่ถ้ายังไม่มีการติดเชื้อที่ปลายรากฟันมาก อาจใช้เวลาในการรักษาเสร็จภายในครั้งเดียว

บทสรุป การรักษารากฟัน

การรักษารากฟัน เป็นการกำจัดเชื้อเเบคทีเรียที่ลุกลามไปยังโพรงประสาท ด้วยการนำเส้นประสาทรากฟันและเยื่อรากฟันทั้งหมดออกจากฟัน เพื่อทำให้ปลอดเชื้อ เป็นการรักษาฟันแท้ตามธรรมชาติไว้ เเละบำรุงให้กลับมาเเข็งเเรง ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเดิม การรักษารากฟันเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน ต้องอยู่ภายใต้การดูของทันตแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับรากฟัน

ถ้าคุณเป็นคนที่มีปัญหาที่กระทบกระเทือนถึงรากฟันตามอาการดังกล่าว เเนะนำว่าควรรีบปรึกษาคุณหมอ เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที ป้องกันการอักเสบที่อาจลุกลาม นำมาซึ่งอาการเจ็บปวดฟันในระดับที่รุนแรงมากขึ้นจนอาจจะต้องถอนฟันเเท้ทิ้งไป

บทความนี้เขียนขึ้นโดยทีมงานของคลินิกทันตกรรม COSDENT by SLC โดยบทความได้ส่งทีมทันตแพทย์ดูรายละเอียดเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว


COSDENT by SLC, MAKEOVER YOUR SMILE

dr santirach kiattivejsoonthorn dr dan
ท.พ. สันติราช เกียรติเวชสุนทร

ทันตแพทย์ / Dentist

คุณหมอ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เรื่องของออกแบบรอยยิ้ม เพื่อลดปัญหาความไม่มั่นใจ ให้กลายเป็นยิ้มที่สวยงามในแบบที่คนไข้ต้องการ ที่มีความเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง โดยการออกแบบและการดูแลสุขภาพฟันให้สมบูรณ์ โดยทุกๆรอยยิ้มเกิดขึ้นจาก ความเข้าใจของคนไข้ รวมถึง ทีมทันตแพทย์ทุกๆท่าน และทีมเจ้าหน้าที่ทุกๆคน

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
แฟนเพจ Facebook COSDENT by SLC
และติดตามเรื่องราวดีๆผ่านช่อง Youtube ของคลินิก

พิมพ์ค้นหาคลินิกผ่าน hashtag ใน Instagram และ Facebook จากคำเหล่านี้ได้
#cosdentbyslc #makeoveryoursmile 
#slcgroup #ทันตกรรมเพื่อความงาม
#คอสเดนท์ #แนะนำร้านทำฟัน
#ร้านทำฟันทองหล่อ
#ร้านทำฟันสยาม #โปรโมชั่นทำฟัน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
cosdent สาขาสยาม สแควร์วัน (คลิกดูรายละเอียดสาขา) 
tel: 093-882-3536
cosdent สาขา พระรามเก้า (คลิกดูรายละเอียดสาขา)
tel: 064-592-4928 
line : @cosdent

Add us on Line Messenger
Scroll to Top