ฟันปลอม มีกี่แบบ ทำฟันปลอมแบบไหนดี แตกต่างยังไง ราคาเท่าไหร่
ฟันปลอม จัดอยู่ในหมวดทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthodontics) เป็นทางเลือกการทดแทนฟันสูญเสียไป ด้วยฟันปลอมรูปแบบต่างๆ อาทิ ครอบฟัน สะพานฟัน รากฟันเทียม ใครที่อยากรู้เรื่องฟันปลอมหรือต้องใส่ฟันปลอมแต่ยังไม่เข้าใจประเภทของฟันปลอม ข้อแตกต่าง ข้อดี-ข้อเสียของฟันปลอมแต่ประเภทเป็นอย่างไร ติดตามอ่านหัวข้อด้านล่างที่เราสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ได้เลยค่ะ
บทสรุปฟันปลอม มีกี่แบบ แบบไหนดี แตกต่างยังไง
- ฟันปลอมแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ฟันปลอมแบบติดแน่นเเละฟันปลอมแบบถอดได้
- ฟันปลอมแบบติดแน่น เช่น ครอบฟัน, สะพานฟัน, วีเนียร์, รากฟันเทียม
- ฟันปลอมแบบถอดได้ เช่น ฟันปลอมที่ใส่ทั้งปาก, ฟันปลอมบางส่วนที่มีตะขอเกี่ยว สามารถถอดเข้าออกได้
- ในด้านการใช้งานฟันปลอมแบบติดเเน่น มีความเเข็งแรงทนกว่า ใช้งานได้เหมือนฟันจริง คนไข้ไม่รู้สึกรำคาญ ดูเเลทำความสะอาดเหมือนฟันธรรมชาติ มีราคาสูงกว่า

- 1. ฟันปลอม คือ อะไร
- 2. ฟันปลอมทำจากอะไร
- 3. ฟันปลอมมีกี่แบบ กี่ประเภท
- 4. ฟันปลอมแบบติดแน่น (Fixed Prosthodontics)
- 5. ฟันปลอมแบบถอดได้
- 6. ลักษณะการทำฟันปลอม
- 7. เลือกทำฟันปลอมแบบไหนดี
- 8. ข้อดีของการทำฟันปลอม
- 9. เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ฟันปลอมติดแน่นและฟันปลอมถอดได้
- 10. ขั้นตอนการทำฟันปลอม
- 11. เคสไหนที่ต้องใส่ฟันปลอมบ้าง
- 12. ความรู้สึกหลังใส่ฟันปลอมเป็นยังไง
- 13. วิธีดูแลฟันปลอม
- 14. ฟันปลอม ราคา
- 15. คำถามที่ถามบ่อยๆ เกี่ยวกับการทำฟันปลอม
ฟันปลอม คือ อะไร
ฟันปลอม คือ การสร้างชิ้นงานฟันให้มีรูปร่างคล้ายฟันโดยทางทันตกรรมเรียกว่าทันตกรรมประดิษฐ์ ที่ออกแบบมาเพื่อชดเชยหรือทดแทนฟันที่มีการสูญเสียไป ทั้งแบบ หลาย ซี่ ซี่เดียว เต็มซี่ หรือ เป็นชิ้นส่วน รวมถึงการอุดช่องว่างจากการสูญเสียฟันอย่างน้อยหนึ่งซี่ขึ้นไป และสามารถใส่เพื่อชดเชยฟันเดิมที่ได้รับผลกระทบ และ ช่วยปรับโครงสร้างปากหรือขากรรไกรให้ทำงานเป็นปกติ ให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ พูดได้ชัดเจน
การทำฟันปลอมต้องอาศัยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthodontist) ที่ได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมอีก 3 ปีในสาขานี้โดยเฉพาะ
ในปัจจุบันฟันปลอมดูเป็นธรรมชาติและให้ความสะดวกสบายในการสวมใส่มากกว่าเมื่อก่อน อย่างไรก็ตามคนไข้อาจจะต้องให้เวลาในการทำความคุ้นเคยในการใช้งาน เราอาจจะเห็นฟันปลอมมีทั้งเเบบที่ติดถาวรและถอดได้ ที่ได้ยินกันบ่อยๆ เช่น สะพานฟัน ฟันปลอม ครอบฟัน หรือฟันปลอมที่รองรับโครงสร้างฟันอย่าง รากฟันเทียม ซึ่งการจะเลือกใช้ฟันปลอมแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาฟันของคนไข้ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

ฟันปลอมทำจากอะไร
โครงสร้างของฟันปลอม ประกอบด้วยฐานทำจากวัสดุประเภทพลาสติก หรือแผ่นโลหะติดส่วนที่เป็นเนื้อฟันปลอมไว้ ซึ่งฟันปลอมจะมีตะขอโลหะยึดเข้ากับฟันธรรมชาติบางส่วน คนไข้สามารถแกะตะขอและถอดออกฟันฟลอมออกได้

ฟันปลอมชนิดทั้งปาก จะมีฐานเป็นอะคริลิคสีเหมือนเหงือกที่จะสามารถติดพอดีกับเหงือกของเรา ฐานของฟันปลอมบนจะติดกับเพดานปาก ในขณะที่ฟันปลอมล่างจะมีลักษณะเหมือนเกือกม้าเพื่อที่จะมีพื้นที่ให้กับลิ้น
ฟันปลอมมีกี่แบบ กี่ประเภท
การทำฟันปลอมมี 2 แบบ คือ
ฟันปลอมแบบติดแน่น (Fixed Prosthodontics)
คือ ฟันปลอมถาวรที่ใส่โดยยึดกับฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียง เช่น ครอบฟัน, สะพานฟัน, วัสดุอุดฟันแบบ Onlays และ Inlays ,วีเนียร์ เป็นต้น

1.1 ครอบฟัน (Crown)

ครอบฟัน คือ ฟันปลอมติดเเน่นที่ทำจากวัสดุประเภทโลหะหรือเซรามิกให้ครอบบริเวณฟันที่เสียหายไว้ เคสที่ฟันเสียหายมาก เช่น อาการฟันผุ เนื้อฟันแตก หัก บิ่น มีส่วนของเนื้อฟันธรรมชาติเหลืออยู่น้อย ไม่สามารถบูรณะได้ด้วยการอุด เราใช้การสร้างครอบฟันเป็นทำหน้าบดเคี้ยวแทนฟันธรรมชาติ เพื่อปกป้องเนื้อฟันเดิมที่เหลืออยู่ และเป็นรักษารากฟันไว้
นอกจากนี้ยังสามารถทำเพื่อความสวยงามในฟันหน้าได้ด้วยการทำครอบฟันนั้นจะทำบนฟันธรรมชาติที่มีราก หรือทำบนรากเทียมเท่านั้น
1.2 สะพานฟัน (Bridge)

สะพานฟัน (Bridge) คือ ฟันปลอมติดแน่น ใส่ชดเชยช่องว่างจากฟันที่สูญเสียไป โดยคุณหมอจะยึดสะพานฟันติดกับตัวหลักสะพาน ที่ได้จากการกรอฟันซี่ข้างเคียง การออกแบบและวัสดุที่นำมาใช้ในการสร้างสะพาน ขึ้นอยู่กับขนาดของช่องว่าง ความสวยงาม และการใช้งาน
1.3 การอุดฟัน Onlays และ Inlay

Onlays และ Inlay คือ ฟันปลอมติดแน่น เป็นวัสดุบูรณะฟันที่สร้างภายนอกช่องปาก ยึดติดกับฟันจริงด้วยกาวทันตกรรม ทดแทนการสูญเสียเนื้อฟันค่อนข้างมาก จากฟันผุหรือฟันแตกที่เกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่เกินกว่าจะอุดฟันตามปกติ แต่มีเนื้อฟันเหลือมากพอโดยที่ไม่จะเป็นต้องทำครอบฟัน Onlays และ Inlay มีทั้งทำจากวัสดุโลหะเเละวัสดุสีเหมือนฟัน
แนะนำอ่าน การอุดฟัน
1.4 วีเนียร์ฟัน (Veneer)

เป็นการปิดแผ่นเคลือบฟันลงไปที่บริเวณผิวหน้าฟัน ช่วยในเรื่องทันตกรรมความงาม อาทิ ปิดช่องว่างฟันห่าง, ฟันซ้อนเกเล็กน้อย, สีฟันไม่สม่ำเสมอ, ฟันบิ่นแตก เป็นต้น
แนะนำควรอ่านเพื่อความเข้าใจ
– การทำวีเนียร์
– วีเนียร์ฟัน vs ครอบฟัน ต่างกันอย่างไร
1.5 รากฟันเทียม (Dental Implants)

รากฟันเทียม (Dental Implants) คือ การทดแทนรากฟันจริงที่สูญเสียไป ด้วยการฝังรากเทียมซึ่งทำจากวัสดุไททาเนียมลงบนกระดูกขากรรไกร หลังจากที่รากเทียมยึดกับกระดูกได้ดีแล้ว ทันตแพทย์จะทำการใส่ครอบฟันบนรากฟันเทียมต่อไปวิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันเพราะสามารถทดแทนฟันได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุด
แนะนำ อ่านเพิ่มเติมเรื่อง รากฟันเทียม
ฟันปลอมแบบถอดได้
ฟันปลอมถอดได้ คือ ฟันปลอมที่ใช้ตะขอเกี่ยวยึดเกาะกับฐานฟันธรรมชาติ คนไข้สามารถถอดออกโดยการปลดตะขอออก เพื่อทำความสะอาดได้ ซึ่งในรายละเอียดปลีกย่อยก็แบ่งได้ 2 แบบด้วยกัน คือ

- ฟันปลอมทั้งปาก (ใช้แทนฟันบนหรือฟันล่างทั้งหมดของคนไข้)
- ฟันปลอมบางส่วน สำหรับใส่ทดแทนที่ฟัน 1-3 ซี่ที่หายไป
ลักษณะการทำฟันปลอม
ฟันปลอม ทั้งปากแบบดั้งเดิม
ฟันปลอมทั้งปากแบบดั้งเดิมจะถูกใส่หลังจากฟันถูกถอนออกหมดและเนื้อเยื่อได้ฟื้นตัวแล้ว การฟื้นตัวของเนื้อเยื่ออาจใช้เวลาหลายเดือน ซึ่งในช่วงนั้นคุณจะไม่มีฟัน

ฟันปลอม ทั้งปากแบบทันที
ฟันปลอมทั้งปากแบบทันทีจะสามารถสวมใส่ได้ในทันทีหลังจากที่ฟันทั้งหมดถูกถอนออก (ทันตแพทย์จะทำการวัดและสร้างแบบจำลองของขากรรไกรในช่วงก่อน) แม้ว่าฟันปลอมทั้งปากแบบทันทีจะช่วยให้เราไม่ต้องอยู่แบบไม่มีฟัน แต่ฟันปลอมชนิดนี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลายเดือนหลังจากที่ใส่ไปแล้ว เนื่องจากกระดูกที่รองรับฟันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ฟื้นตัว ทำให้ฟันปลอมหลวมได้
ฟันปลอม แบบบางซี่
ฟันปลอมแบบบางซี่จะยึดโดยโครงโลหะที่ติดกับฟันธรรมชาติของเรา บางครั้งอาจต้องมีการครอบฟันที่ฟันธรรมชาติเพื่อทำหน้าที่เหมือนสมอสำหรับฟันปลอม ฟันปลอมแบบบางซี่อาจใช้เป็นสะพานฟัน

เลือกทำฟันปลอมแบบไหนดี
การเลือกใช้ฟันปลอมชนิดใด ขึ้นอยู่กับว่าจำนวนฟันที่สูญเสีย ระดับปัญหาของสุขภาพในช่องปาก ในแง่ของประสิทธิภาพการใช้งานการใส่ฟันปลอมแบบติดเเน่นจะให้ความรู้สึกเหมือนฟันธรรมชาติ เคี้ยวอาหารได้ดี ไม่เคลื่อนตัวขณะเคี้ยว คนไข้ใช้งานได้อย่างสะดวกโดยที่ไม่ต้องถอดเข้าออกไม่ต้องถอดเข้าออก
อย่างไรก็ตามทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะแนวทางที่เหมาะสมกับปัญหา และค่าใช้จ่ายได้ อธิบายขั้นตอนการรักษา และผลลัพธ์ของการทำฟันปลอมประเภทนั้นๆ
ข้อดีของการทำฟันปลอม
- ช่วยป้องกันการเคลื่อนหรือล้มของฟันซี่ข้างเคียง
- ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อฟันจริงละลายไปที่ส่วนที่สูญเสียฟันที่แท้จริงไป
- ช่วยป้องกันฟันล้มหรือเอียงได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียฟัน
- ช่วยเสริมสร้างบุคลิกและรอยยิ้มที่สวยงาม
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร
- ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการพูด
- ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของรูปหน้าเนื่องจากการสูญเสียฟัน

อ่านต่อ ฟันปลอมสำคัญอย่างไร ถ้าไม่ใส่ฟันปลอมมีข้อเสียยังไง >>
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ฟันปลอมติดแน่นและฟันปลอมถอดได้
ข้อเปรียบเทียบ ฟันปลอม | ฟันปลอม ติดแน่น | ฟันปลอม ถอดได้ |
---|---|---|
การใช้งาน | แข็งแรง ทนทาน ประสิทธิภาพในการเคี้ยวเหมือนฟันธรรมชาติ | ฟันปลอมแบบถอดได้ที่เป็นฐานอะครีลิก(พลาสติก) อาจจะเปราะหักได้ ประสิทธิภาพในการเคี้ยวต่ำกว่าแบบติดแน่น |
ความสวยงาม | ให้ความสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ | อาจจะเห็นตะขอเกี่ยวฟันปลอม |
ความรู้สึกของคนไข้ | ให้ความรู้สึกไม่ต่างจากฟันธรรมชาติ คนไข้ไม่รู้สึกรำคาญขณะเคี้ยว | รู้สึกรำคาญมากกว่าแบบติดแน่น อาจจะพะวงกลัวฟันปลอมหลุดระหว่างเคี้ยวอาหาร |
ราคา | ราคาแพง | ราคาถูกกว่า |
ระยะเวลาการทำ | ใช้เวลาในการทำนานกว่า เพราะมีรายละเอียดซับซ้อนกว่า เเละต้องทำในช่องปากคนไข้ | ใช้เวลาเร็วกว่าฟันปลอมติดแน่น |
การทำความสะอาด | ทำความสะอาดได้เหมือนฟันธรรมชาติ | ถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่าย |
ขั้นตอนการทำฟันปลอม
เริ่มจากการนัดหมายกับทันตแพทย์และใช้เวลา 3 สัปดาห์ – 1 เดือน เพื่อพัฒนาฟันปลอมให้ใช้งานได้อย่างม่ีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับคนไข้ โดยทั่วไปมีกระบวนการดังนี้ :
- พบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เตรียมช่องปากเพื่อทำฟันปลอมชั่วคราว
เริ่มจากการวัดขนาดขากรรไกร และเตรียมแม่พิมพ์ฟัน สร้างเป็นโมเดลช่องปากขึ้น หรือสแกนแบบดิจิทัลเพื่อวัดช่องว่างของฟันเเละลักษณะการกัด ข้อมูลที่ได้จะถูกส่งไปห้องปฏิบัติการทันตกรรม (dental lab) เพื่อสร้างโมเดลฟันแบบจำลองช่องปากของคนไข้ เเละทำฟันปลอมแบบชั่วคราวที่มีขนาดเเละรูปร่างพอดีกับช่องว่างในปากของคนไข้
เคสของคนไข้ที่มีการถอนฟันร่วมด้วย ต้องรอให้แผลหายดีก่อนที่จะทำการพิมพ์ปากแและทำโมเดลได
กรณีที่คนไข้ทำฟันปลอมแบบทันที(Immediate Dentures) ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากก่อนไว้ก่อน และจัดเตรียมฟันปลอมที่มีลักษณะเหมือนฟันเดิมได้ทันที และทำการนัดถอนฟันคนไข้ภายหลัง เพื่อใส่ฟันปลอมใส่ได้ทันที - ลองใส่ฟันปลอมชั่วคราว ทันตแพทย์ปรับตกแต่งฟันปลอมให้พอดีกับคนไข้
ทันตแพทย์ใส่ฟันปลอมชั่วคราวให้คนไข้ และทำการปรับแต่ง รูปร่าง ขนาด สีฟันให้เหมาะสมกับตำแหน่งฟันที่สูญเสียไปให้มากที่สุด เพื่อความสะดวกสบายในการสวมใส่ หลังจากนั้นฟันปลอมจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการทันตกรรมเพื่อทำการผลิตฟันปลอมจริงให้กับคนไข้ - ทันตแพทย์นัดใส่ฟันปลอมที่ปรับแต่งสมบูรณ์เเล้วให้กับคนไข้
คนไข้จะได้ใส่ฟันปลอมที่ปรับแต่งเรียบร้อยเเล้ว เพื่อให้มีขนาดพอเหมาะกับช่องปาก อาจจะมีการปรับแต่งฟันปลอมอีกครั้งตามที่คุณความเหมาะสม ทันตแพทย์จะนัดมาติดตามผลการใช้งานอีกครั้งซึ่งระยะเวลาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์
เคสไหนที่ต้องใส่ฟันปลอมบ้าง
- คนที่สูญเสียฟันหรือเนื้อฟันไป เช่น ฟันหัก ฟันแตก จากอุบัติเหตุ
- คนที่ต้องถอนฟันเนื่องจากปัญหาสุขภาพโรคเหงือก ปริทันต์อักเสบ, ฟันผุ, ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
- คนที่ต้องใส่ฟันปลอมอยู่เเล้ว แต่ฟันปลอมไม่พอดี ต้องมีการปรับฟันปลอมใหม่ (Reline) เพื่อใส่ให้กระชับไม่เจ็บเหงือก

ความรู้สึกหลังใส่ฟันปลอมเป็นยังไง
ช่วง 2-3 สัปดาห์แรก คนไข้อาจจะยังไม่ชินกับฟันปลอม และไม่สบายในช่องปากในขณะที่รับประทานอาหาร หรือพูดไม่ค่อยถนัด ซึ่งเป็นปกติของการใส่ฟันปลอมต้องอาศัยการฝึกฝนเล็กน้อย
ในกรณีที่คนไข้มีการถอนฟันบางส่วนออกเพื่อใส่ฟันปลอม บริเวณที่ถอนฟันอาจรู้สึกปวดบ้างเเต่แผลจะค่อยๆหายดีภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากถอนฟัน
แต่คุณคนไข้รู้สึกว่าฟันปลอมหลวมไม่ค่อยพอดี หรือรู้สึกระคายเคืองเจ็บภายในปาก แนะนำให้นัดพบทันตแพทย์ เพื่อปรับฟันปลอมให้พอดีกับช่องปาก
วิธีดูแลฟันปลอม
- ฟันปลอมมีความบอบบาง ระมัดระวังไม่ให้ตกหล่น เพราะอาจแตกหรือเสียหายได้
- ห้ามปล่อยให้ฟันปลอมแห้ง ควรวางฟันปลอมในน้ำยาแช่ฟัน หรือ ในน้ำเปล่า เวลาที่ไม่ได้ใส่ ไม่ควรใช้น้ำร้อนเพราะอาจทำให้บิดได้
- การแปรงฟันปลอมทุกวัน จะช่วยกำจัด เศษอาหาร และคราบแบคทีเรีย และช่วยป้องกันการเกิดคราบ น้ำยาทำความสะอาด อาจจะ ช่วยได้ แต่ไม่สามารถแทนการแปรงทุกวันได้
- ควรแปรง เหงือก ลิ้น และ เพดานปาก ทุกเช้าด้วย แปรงสีฟัน ที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มก่อนที่จะสวมฟันปลอม ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและกำจัดคราบแบคทีเรีย
- พบทันตแพทย์ถ้าฟันปลอมหัก บิ่น แตก หรือหลวม ห้ามปรับฟันปลอมด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น
ฟันปลอม ราคา
ประเภทฟันปลอม | ราคา |
ฟันปลอมแบบเซรามิก ราคา ต่อ ซี่ | 20,000 |
คำถามที่ถามบ่อยๆ เกี่ยวกับการทำฟันปลอม
คุณจะรู้สึกระคายเคืองหรือปวดเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ความรู้สึกนี้จะหายไปคุ้นเคยกับฟันปลอม
ระยะเวลาของความระคายเคืองหรือปวดอาจแตกต่างกันไป เช่น ถ้าคุณปรับเป็นฟันปลอมชุดใหม่ ต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวสักหน่อย
แต่ถ้าคุณทำฟันปลอมโดยที่มีการถอนฟันออกบางซี่ในขณะที่ใส่ฟันปลอมใหม่ บริเวณที่ทำถอนฟันอาจมีอาการปวดหลายสัปดาห์หลังถอนฟัน แนะนำให้ไปปรึกษาทันตแพทย์เพิ่มเติม เพื่อติดตามอาการหรือช่วยปรับฟันปลอมให้เข้าที่มากขึ้นถ้ายังรู้สึกระคายเคืองอย่างต่อเนื่อง
การใส่ฟันปลอมในช่วงแรกๆ จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ ในการปรับตัวให้ชิน หรือ ถ้าเป็นกรณีที่เป็นคนที่ปรับตัวยากหน่อย ก็อาจจะคุ้นในเวลา 1 เดือน
การรับประทานอาหาร และ การพูดเมื่อใส่ฟันปลอมอาจจะต้องใช้เวลาในการฝึกเล็กน้อย ความรู้สึกเทอะทะ หรือ หลวมก็เป็นสิ่งที่พบจากคนไข้อยู่บ้าง
โดยกล้ามเนื้อของแก้ม และลิ้น ก็จะค่อยๆ ทำความคุ้นเคยในการประคองฟันปลอมไว้ การมีน้ำลายไหลออกมาก ความรู้สึกว่าลิ้นคับปาก หรืออาการระคายเคืองเล็กน้อย ก็ไม่เป็นสิ่งแปลกเช่นกัน
ถ้าคุณมีอาการระคายเคืองมาก ควรพบทันตแพทย์
ขึ้นอยู่กับลักษณะการสวมใส่ ซึ่งถ้าทำและใส่อย่างถูกวิธีก็ยาวๆกันเป็น 10 ปี ในกรณีที่ดูแลดี โดยหลักการคือ การเปลี่ยนฐานฟันปลอมใหม่โดยที่ยังคงตัวฟันไว้อยู่
นอกจากนี้ เมื่อเราอายุมากขึ้น ปากของเราก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้ฟันปลอมหลวม ทำให้การเคี้ยวอาหารลำบาก และระคายเคืองเหงือก วิธีการป้องกันปัญหาอย่างน้อยคุณควรพบทันตแพทย์ทุกปีเพื่อทำการตรวจ
การจัดฟันเมื่อใส่ฟันปลอมอยู่จะทำได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของฟันปลอมที่คนไข้ใส่
– กรณีใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ สามารถจัดฟันได้โดยทันตแพทย์จะใช้การแขวนฟันปลอมซี่ใหม่ที่ทำขึ้นไว้กับเครื่องมือจัดฟัน คนไข้จะใส่เครื่องมือจัดฟันโดยที่มีตัวฟันปลอมร้อยอยู่ในเซ็ทแบร็คเก็ตด้วย
ภายหลังจัดฟันเสร็จเเล้ว อาจต้องปรับเปลี่ยนขนาด ตำแหน่งของฟันปลอม และในบางกรณีคนไข้อาจไม่ต้องใส่ฟันปลอมอีกต่อไปเมื่อฟันเข้าที่เเล้ว
– กรณีใส่ฟันปลอมแบบติดเเน่น ที่ไม่ได้มีผลกับการยึดรากฟัน เช่น
ครอบฟัน สะพานฟันหรือ Onlays และ Inlay สามารถจัดฟันได้ตามปกติ
– กรณีใส่ฟันปลอมแบบติดเเน่น ที่เป็นการทำรากฟันเทียม จะไม่สามารถจัดฟันเพื่อเคลื่อนตำแหน่งของรากเทียมได้ เนื่องจากรากเทียมถูกฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร จึงถือว่าเป็นข้อจำกัดของการจัดฟันรากเทียมเเละฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียงที่ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้เหมือนฟันธรรมชาติ
แต่ถ้าคนไข้จัดฟันให้ฟันซี่อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวรากฟันเทียมก็สามารถทำได้ตามปกติค่ะ
แนะนำให้พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อตรวจสุขภาพตามปกติ
แต่ในระยะแรกหลังทำฟันปลอมคุณหมออาจจะนัดตรวจเช็คผลการใส่ฟันปลอม 2 สัปดาห์ – 1 เดือน
หวังว่าบทความเกี่ยวกับฟันปลอมนี้จะช่วยตอบข้อสงสัยใครหลายๆ ที่กำลังดูข้อมูลสำหรับตัวเองหรือคนรู้จัก เพื่อแก้ไขปัญหาการสูญเสียฟัน เติมรอยยิ้มของคุณกลับมาสดใสและเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง สามารถติดต่อสอบเพื่อปรึกษาทันตแพทย์ได้เลยนะคะ
บทความนี้เขียนขึ้นโดยทีมงานของคลินิกทันตกรรม COSDENT by SLC โดยบทความได้ส่งทีมทันตแพทย์ดูรายละเอียดเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว
COSDENT by SLC, MAKEOVER YOUR SMILE

ท.พ. สันติราช เกียรติเวชสุนทร
ทันตแพทย์ / Dentist
คุณหมอ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เรื่องของออกแบบรอยยิ้ม เพื่อลดปัญหาความไม่มั่นใจ ให้กลายเป็นยิ้มที่สวยงามในแบบที่คนไข้ต้องการ ที่มีความเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง โดยการออกแบบและการดูแลสุขภาพฟันให้สมบูรณ์ โดยทุกๆรอยยิ้มเกิดขึ้นจาก ความเข้าใจของคนไข้ รวมถึง ทีมทันตแพทย์ทุกๆท่าน และทีมเจ้าหน้าที่ทุกๆคน
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
แฟนเพจ Facebook COSDENT by SLC
และติดตามเรื่องราวดีๆผ่านช่อง Youtube ของคลินิก
พิมพ์ค้นหาคลินิกผ่าน hashtag ใน Instagram และ Facebook จากคำเหล่านี้ได้
#cosdentbyslc #makeoveryoursmile
#slcgroup #ทันตกรรมเพื่อความงาม
#คอสเดนท์ #แนะนำร้านทำฟัน
#ร้านทำฟันทองหล่อ
#ร้านทำฟันสยาม #โปรโมชั่นทำฟัน
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
cosdent สาขาสยาม สแควร์วัน (คลิกดูรายละเอียดสาขา)
tel: 093-882-3536
cosdent สาขา พระรามเก้า (คลิกดูรายละเอียดสาขา)
tel: 064-592-4928
line : @cosdent
