ฟันงุ้ม หน้าแก่ แก้ไขอย่างไรได้บ้าง

บทความนี้สำหรับใครที่กังวลใจเกี่ยวกับฟันงุ้ม เช่น ฟันงุ้มดูหน้าแก่ ยิ้มเเล้วฟันบนครอบฟันล่างจนเกือบหมด จัดฟันอยู่เเล้วฟันงุ้มเข้าปกติรึป่าว หรือหลังจัดฟันเเล้วฟันงุ้มจะแก้ไขอย่างไรดี ฟันงุ้มมีข้อเสียมั้ย หรือไม่แน่ใจว่าคุณมีฟันงุ้มมั้ยเรามาสังเกตไปพร้อมๆกันเลยค่ะ

ฟันงุ้ม หน้าแก่ แก้ไขอย่างไรได้บ้าง deep bite treatment
ฟันงุ้ม หน้าแก่ แก้ไขอย่างไรได้บ้าง

ฟันงุ้ม คืออะไร

ฟันงุ้ม คือ เป็นรูปแบบการสบฟันผิดปกติ มีลักษณะของฟันสบลึก (Deep Bite, Deep Overbite) ที่องศาของปลายฟันบนงุ้มเข้าไปลึกจนถึงปลายโคนฟันล่าง เกิดได้ทั้งฟันหน้าเเละฟันกราม

ลักษณะฟันงุ้ม
ลักษณะฟันงุ้ม

วิธีการสังเกตฟันงุ้ม

วิธีสังเกตฟันงุ้ม
วิธีสังเกตฟันงุ้ม
  • ส่องกระจก ยิ้มเห็นฟัน ถ้าฟันบนความโค้งงุ้มครอบเกินฟันล่างมากกว่า 2 มิลลิเมตร อาจจะดูครอบคลุมพื้นที่ ⅓ หรือจนแทบมองไม่เห็นฟันล่างเเสดงว่าคุณมีฟันสบลึก
  • วิธีการดูมุมความเอียงของฟัน จากด้านข้างด้วยการส่องกระจกอีกบาน สะท้อนให้เห็นมุมข้าง ลองสังเกตลักษณะการสบของฟัน
    ถ้าฟันปกติ ปลายฟันบนจะมีองศาตั้งตรงสบฟันกับปลายฟันล่าง เเต่ถ้าคุณมีปลายฟันหน้าบนเอียงเข้ามาคร่อมปิดจนถึงโคนฟันหน้ามากเท่าไหร่ แสดงว่าคุณมีฟันงุ้มเข้ามามาก

ข้อเสียของฟันงุ้ม

ข้อเสียฟันงุ้ม
ข้อเสียฟันงุ้ม
  • ฟันล่างสึกง่ายกว่าปกติ จากการสบฟันที่ไม่พอดี ทำให้ปลายฟันล่างส่วนหน้าจะชนหรือเสียดสีกับฟันบน
  • เมื่อรับประทานอาหารด้วยลักษณะฟันที่สบกันผิดปกติมมากๆเข้า สร้างความเสียหายที่รากฟัน อาจมีอาการปวดฟัน เกิดฟันล้มเอียงตามมาได้
  • ลักษณะฟันที่งุ้ม ทำให้โครงสร้างใบหน้าดูสั้น ไม่สมส่วน และทำคุณดูแก่กว่าวัยอีกได้ด้วย
  • ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากฟันงุ้ม เช่น แผลพุพองที่เปิดจากฟันเสียดสีบริเวณเพดานปาก, ฟันคุด, เกิดความผิดปกติของข้อต่อเมื่อรับประทานอาหาร, โรคเหงือก

สาเหตุของฟันงุ้ม

ปัญหาฟันสบลึก เกิดจากหลายสาเหตุดังนี้:

  • พันธุกรรม- ฟันซ้อน มีที่ว่างในช่องปากไม่เพียงพอสำหรับฟันแท้
  • ฟันสึก ฟันผุ ก็อาจทำให้เกิดการสบฟันลึกที่รุนเเรง
  • สูญเสียฟันโดยเฉพาะกับฟันหลัง
  • พฤติกรรมที่เป็นนิสัย เช่น การดูดหัวเเม่มือ กีดเล็บหรือริมฝีปาก กัดฟัน
  • โครงสร้างกระดูกขากรรไกร ช่วงกรามล่างมีขนาดเล็กกว่ากรามบน
  • ฟันงุ้มหลังจัดฟัน จากการวางแผนจัดฟันที่ไม่ดี ทันตแพทย์ขาดความเชี่ยวชาญ หรือคนไข้ไม่พบแพทย์ตามนัด

ทำไมบางคนที่เกิดปัญหาฟันงุ้มหลังจัดฟัน

ฟันงุ้มหลังจัดฟัน
ฟันงุ้มหลังจัดฟัน

ฟันงุ้มที่เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดฟัน เป็นผลจากการที่ทันตแพทย์ผู้จัดฟันให้ขาดความเชี่ยวชาญ วางแผนการจัดฟันได้ไม่ดี มีการถอนฟันออกมากเกินไป ทำให้ฟันเคลือนที่มากเกินความจำเป็น หรือมีการติดเครื่องมือจัดฟันไม่ถูกต้อง รวมถึงขาดการวางแผนป้องกันฟันงุ้ม ที่อาจเกิดจากเเรงเคลื่อนฟันในการติดเครื่องมือจัดฟัน

นอกจากนี่อาจเกิดในคนไข้จัดฟันโลหะที่ไม่ไปพบคุณหมอตามนัด ทิ้งระยะห่างไว้นานเกินเช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี แทนที่ปกติจะต้องพบทุกเดือน เพื่อให้คุณหมอทำให้แรงดึงฟันจากเครื่องมือจัดฟันที่มากเกิน ส่งผลให้ฟันหน้างุ้มได้เช่นกัน

วิธีการแก้ปัญหาฟันงุ้ม

หลักการรักษาอาการฟันงุ้มหรือฟันสบลึก คือการจัดเรียงฟันใหม่ ปรับตำแหน่งฟันให้เข้าที่ แก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติให้ฟันบนเเละฟันล่างสบกันพอดีในองศาฟันถูกต้องมากที่สุด ซึ่งมีหลายวิธีดังต่อไปนี้

จัดฟันแก้ฟันงุ้ม

ปรับปรุงจัดแนวฟันให้เข้าที่ด้วยเครื่องมือจัดฟัน เหมาะกับการรักษาคนไข้ที่มีฟันงุ้มเยอะ

  • จัดฟันแบบโลหะ จะช่วยปรับมุมฟัน ดันซี่ฟันหรือแถบฟันล่างเข้าไปได้
  • รีเทนเนอร์
  • จัดฟันแบบใส เป็นการใส่เครื่องมือจัดฟันครอบไปที่ตัวฟันเพื่อควบคุมแรงกด ยกปลายฟันที่งุ้มครอบฟันล่างให้ยกตัวขึ้น เปิดให้เห็นฟันหน้าล่างมากขึ้น เหมาะกับคนที่จัดฟันรอบสองเพื่อแก้ไขฟันงุ้ม ใช้เวลารวดเร็วกว่าการจัดฟันแบบโลหะ
invisalign แก้ฟันงุ้ม
invisalign แก้ฟันงุ้ม

อุดฟัน

อุดฟันเป็นการซ่อมเเซมบูรณะฟันที่สึกหรอ

อุดฟัน ซ่อมฟันที่สึกหรอ
อุดฟันบูรณะฟันสึก สาเหตุจากฟันงุ้ม

รากฟันเทียมแก้ฟันงุ้ม

ทำรากฟันเทียมเพิ่มฟันที่ขาดไปให้เต็มเพื่อให้การสบฟันถูกคู่

การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน

เหมาะกับคนไข้ที่มีอาการฟันงุ้มรุนแรง เพื่อรักษาฟันงุ้มที่เกิดจากโครงสร้างกระดูกขากรรไกรยื่น หรือประดูกขากรรไกรเบี้ยว
อย่างไรก็ตามเราขอแนะนำให้คนไข้พบทันตแพทย์เพื่อ ตรวจสอบสาเหตุฟันงุ้ม เช็คสุขภาพฟัน จำนวนฟันของคนไข้ แนวแกนฟัน มุมความเอียงของฟัน ตำแหน่งรากฟัน เพื่อจัดการวางเเนวทางการรักษาเฉพาะบุคคลได้อย่างเหมาะสม

คำถามเกี่ยวกับฟันงุ้ม

1. ฟันงุ้มคืออะไร?

ฟันงุ้มเป็นลักษณะการสบฟันที่ผิดปกติ จากการเรียงตัวของฟันที่ฟันหน้าบนซ้อนคร่อมฟันล่าง หรืออาจเกิดจากกระดูกกรามล่างสั้นกว่ากรามบน ทำให้เกิดการทับซ้อนกันอย่างรุนแรง

2. ฟันงุ้มแก้ไขได้หรือไม่?

ฟันงุ้มหรือลักษณะฟันสบลึก มีทางเลือกในการรักษามากมายขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของการสบฟัน ถ้ามีปัญหาไม่รุนแรงสามารถด้วยการจัดฟันและการฟื้นฟูฟันด้วยการทำรากฟันเทียม อุดฟัน ในกรณีที่การสบฟันลึกมีสาเหตุจากขากรรไกรอาจจะต้องมีการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมด้วย

3. รักษาฟันงุ้มใช้เวลานานขนาดไหน?

ฟันงุ้มพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่นั้นรักษาได้ยาก ระยะเวลาในรักษาอาจแตกต่างกันตามสภาพโครงสร้างฟันส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1.5 ถึง 2 ปี

4. ถ้าไม่รักษาอาการฟันงุ้ม จะมีผลเสียอย่างไร?

ฟันงุ้มสร้างสร้างปัญหาฟันระยะยาวหากไม่ได้รับการรักษา เพราะเรามีการใช้ฟันบดเคี้ยวทุกวัน ยิ่งทำให้การสบฟันแย่ลง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ฟันสึกง่าย ฟันเสียหาย ปวดกราม มีแผลในปาก รากฟันมีปัญหา ฟันผุได้

5. จริงหรือไม่ที่ปัญหาฟันงุ้มยิ่งแย่ลงเมื่ออายุมากขึ้น?

ใช่ค่ะ ยิ่งอายุมาก การสบกัดฟันจะรุนแรงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เช่น อาการปวดฟัน
เคี้ยวอาหารลำบาก ฟันผุ เหงือกอักเสบ รากฟันอักเสบได้

6. ทำไมจัดฟันเเล้วฟันงุ้ม?

คนไข้ที่ได้รับผลกระทบหลังจัดฟันว่าฟันงุ้มขึ้น มีสาเหตุทันตแพทย์จัดฟันที่รักษาขาดความเชี่ยวชาญ วางแผนการจัดฟันไม่ดี มีการถอนฟันออกมากเกินไป ทันตแพทย์ติดเครื่องมือจัดฟันไม่ถูกต้อง เกิดเเรงเคลื่อนจากการติดเครื่องมือจัดฟันทำให้ฟันงุ้มออกมาจากกระดูกขากรรไกร ไม่ได้มีการวางแผนป้องกันฟันงุ้ม ที่อาจเกิดเครื่องมือจัดฟัน

7. จัดฟันเเล้วฟันงุ้ม แก้ไขยังไง?

การแก้ไขฟันงุ้มควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของฟัน เช่น แนวแกนฟัน มุมความเอียงของฟัน ตำแหน่งรากฟัน เเละปัญหาฟันอื่นๆ ของคนไข้ เพื่อวางแผนการจัดฟันรอบสอง พิจารณาการบูรณะฟันในส่วนที่เสียหาย รวมถึงการดูเเลรักษารากฟันที่มีปัญหา

เห็นมั้ยคะว่าฟันงุ้ม ไม่ใช่เเต่เพียงปัญหาด้านรูปลักษณ์ความสวยงามเพียงอย่างเดียว เเต่กระทบถึงสุขภาพฟันในระยะยาวด้วย การเลือกจัดฟันกับคลินิกที่ได้มาตรฐานดูแลภายใต้ทันตแพทย์จัดฟันผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญกับการรักษาฟันสบลึกตั้งเเต่เนิ่นๆ อย่างถูกวิธี ช่วยป้องกันภาวะสุขภาพช่องปากเเละฟันที่ทำให้เกิดผลร้ายเเรง เช่น ฟันสึก มีแผลในช่องปาก รากฟันอักเสบ ปวดฟัน กระดูกขากรรไกรผิดปกติ ฟันผุอื่นๆ ที่อาจตามมมาได้

ถ้าคุณสังเกตเห็นอาการฟันงุ้มหรือมีปัญหาดังที่กล่าวมาจากปัจจัยต่างๆ หรือผลกระทบจากการถอนฟัน การจัดฟัน หรืองานทันตกรรมอื่นๆ สามารถปรึกษาทันตแพทย์คลินิก Cosdent เพื่อวางแผนแก้ไขฟันงุ้มได้เลยนะคะ

About The Author

Scroll to Top