หินปูนที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงแต่อย่างใด แต่คุณรู้หรือไม่ว่าคราบหินปูนนี่แหละเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ปัญหาช่องปากอื่น ๆ ที่รุนแรงอย่างคาดไม่ถึง
หินปูนคืออะไร / คราบหินปูนเกิดจากอะไร

หินปูน (Calculus) เกิดจากแบคทีเรีย(Streptococcus suis) ที่อาศัยตามซอกฟัน เจริญเติบโตด้วยการกินน้ำตาลจากเศษอาหารบริเวณซอกฟันที่เราแปรงออกไม่หมด แบคทีเรียผลิตกรดที่มีฤทธิ์ทำลายสารเคลือบผิวฟัน ยิ่งเราทำความสะอาดฟันได้ไม่ดี ทั้งเศษอาหาร แร่ธาตุในน้ำลาย รวมกับแบคทีเรียจะสะสมเป็นตะกอน เกาะติดกับเคลือบฟันเป็นคราบหินปูนบนผิวฟัน ซอกฟัน ขอบฟัน หรือกระทั่งซอกเหงือก
ปกติแล้วคราบหินปูนจะมีลักษณะนิ่มสามารถกำจัดออกได้ด้วยการแปรงฟัน แต่เมื่อผ่านไปนานๆ จะกลายเป็นคราบหินปูนที่มีลักษณะเป็นของแข็ง ที่ไม่ว่าจะแปรงอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้หลุดออกได้ ต้องให้ทันตแพทย์ทำการขูดหินปูนให้เท่านั้น
วิธีสังเกตฟันที่มีหินปูน
ฟันเหลือง เนื่องจากมีแคลเซียมและจุลินทรีย์มาเคลือบผิวฟัน มีการตกตะกอนเป็นสีเหลืองเห็นได้ชัดเจน เลือดออกขณะแปรงฟัน มีกลิ่นปาก เริ่มมีเหงือกร่น
ลักษณะของคราบหินปูน
คราบหินปูนทำให้ฟันมีสีคล้ำลงได้ถ้ายิ่งสะสมไว้นาน พบหินปูนได้ตั้งเเต่สีขาวขุ่น สีเหลือง สีน้ำตาล จนถึงสีดำ
ข้อเสียของหินปูน
คราบหินปูนที่แข็งติดแน่นตามฟัน ยังเป็นที่อยู่ให้แบคทีเรียเกาะตัวที่ฟันได้มากขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหินปูนมากขึ้น เพิ่มความรุนแรงของโรคในช่องปากให้มากขึ้น
หินปูนอันตรายมั้ย

หินปูนเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อแบคทีเรียมากมาย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้จะปล่อยสารที่เป็นกรดออกมา ส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากดังนี้
- เหงือกอักเสบ จากสารพิษเชื้อจุลินทรีย์ออกมาทำลายเยื่อเหงือก
- เหงือกร่น จากหินปูนขนาดใหญ่ที่เกาะหนาจนดันลงด้านล่าง จนเหงือกของเราต้องถอยตัวร่นลงไป
- ฟันโยก ฟันห่าง หากมีหินปูนเกาะจนดันเหงือกร่นลงไปมาก ๆ จะทำให้เหงือกยึดฟันได้น้อย เวลาเคี้ยวอาหารก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีอาการฟันโยก และฟันห่างออก
- ฟันผุ กรดจาดเชื้อจุลินทรีย์กัดกร่อนผิวเคลือบฟันจนเป็นร่อง ผิวฟันเป็นรู
- มีกลิ่นปาก เพราะคราบหินปูน เศษอาหาร เป็นแหล่งสะสมมีแบคทีเรีย
- เกิดโรคปริทนต์ จากการที่มีคราบหินปูนเกาะติดเป็นเวลานาน
เมื่อไหร่ถึงเวลาต้องขูดหินปูน
คราบหินปูนเป็นปัญหาทางช่องปาก ที่ควรได้รับการดูแลจากทันตแพทย์อย่างถูกต้อง สำหรับการขูดหินปูนปกติแล้วไม่ได้มีการกำหนดช่วงอายุ ที่เหมาะสมต่อการเข้ารับการขูดหินปูนอย่างตายตัว แต่จะอาศัยจากการตรวจสุขภาพฟัน แล้วดูว่าถึงเวลาที่ควรจะได้รับการขูดหินปูนแล้วหรือยัง ส่วนความถี่ที่เหมาะสมในการเข้ารับบริการสำหรับคนทั่วไป ที่มีอาการเหงือกอักเสบเพียงเล็กน้อยควรขูดหินปูนทุก 6 เดือน หากมีอาการของร่องลึกปริทนต์ควรได้รับการขูดหินปูนทุก 3-4 เดือน
วิธีกำจัดคราบหินปูน
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า การขูดหินปูนจะต้องขูดกับเนื้อฟัน ทำให้ฟันห่าง ความจริงแล้ววิธีการที่ทันตแพทย์ใช้คือใช้เครื่องขูดหินปูนทำการกระเทาะเอาตัวหินปูนออกจากผิวฟัน ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ได้ขูดผิวฟันโดยตรงและไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเนื้อฟันแต่อย่างใด อาจมีอาการเสียวฟันขณะขูดหินปูนเกิดขึ้นเล็กน้อย แต่บางรายที่รู้สึกเสียวมาก แพทย์ก็จะใส่ยาชาให้ ส่วนหลังขูดหินปูนแล้วหลายคนสังเกตเห็นว่าฟันห่างขึ้น ซึ่งฟันห่างไม่ได้เกิดจากการขูดหินปูน แต่เกิดจากหินปูนที่สะสมอยู่ตามซอกเหงือก จนเกิดอาการอักเสบและการร่นของเหงือก
การป้องกันคราบและการเกิดหินปูน
- หลังรับประทานอาหารไม่ควรแปรงฟันทันที ควรแปรงหลังการรับประทานอาหารประมาณ 20-30 นาที เพราะการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารค่าความเป็นกรดในช่องปากสูง จะทำให้ความแข็งแรงของฟันลดลงได้
- แปรงฟันอย่างถูกวิธี และควรแปรงให้สะอาดทั่วถึงทุกซี่ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน เช้าเย็น
- หากไม่สะดวกแปรงฟันช่วงกลางวัน แนะนำให้บ้วนน้ำ 2-3 ครั้งหลังมื้อกลางวัน
- หลีกเลี่ยงของหวานระหว่างมื้ออาหาร
- ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- เลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
- หลังแปรงฟันอย่าเพิ่งบ้วนน้ำล้างปากทันที ควรปล่อยให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันซึมเข้าสู่เนื้อฟันสักพัก
- หลังอาหารควรเคี้ยวหมากฝรั่งชนิดไม่มีน้ำตาล เพื่อช่วยให้เศษอาหารที่ติดตามซอกฟันหลุดออกมา
- ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่ทุก 3 เดือน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย และให้สภาพของหัวแปรงสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หินปูนเป็นอันตรายต่อฟันมากกว่าที่เราคิดไว้นะคะ ถ้ารู้แแบบนี้แล้วก็อย่าลืมดูแลฟันของเราให้ดีๆนะคะ
คลินิกทันตกรรมคอสเดนท์มีโปรโมชั่น เอาใจคนรักสุขภาพ