นอนกัดฟัน เกิดจากอะไรและมีวิธีรักษาอย่างไร

นอนกัดฟัน
นอนกัดฟัน

นอนกัดฟัน (Sleep Bruxism) ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม เพราะการนอนกัดฟัน สามารถส่งผลต่อสุขภาพได้มากมายเลยทีเดียว ตั้งเเต่อาการฟันสึก เสียวฟันเนื่องเคลือบฟันกร่อน หากปล่อยไว้นานอาจเกิดการอักเสบถึงชั้นโพรงประสาทฟัน 

ข้อมูลจากศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่าการนอนกัดฟัน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคผิดปกติจากการนอนหลับ (Sleep  disorders) ที่ส่งผลต่อคุณภาพของการนอน และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในทางทันตกรรมการนอนกัดฟันส่งผลกระทบต่อสุขภาพฟันอย่างมาก และที่หลายคนคาดไม่ถึงก็คือ พฤติกรรมการนอนกัดฟันมีผลในเรื่องความงามด้วย โดยจะทำให้ใบหน้าสั้นลง เพราะฟันที่ค้ำยันรูปหน้าสึก หรือมีใบหน้ากางออก เพราะกล้ามเนื้อใบหน้าทำงานหนัก ปัญหาเยอะเช่นนี้นอนกัดฟัน แก้ยังไง ไปดูกันค่ะ

ทำความเข้าใจก่อน นอนกัดฟันคืออะไร?

การกัดฟันตอนนอน เกิดจากความผิดปกติทางด้านการบดเคี้ยว หรือการทำงานของขากรรไกรมีปัญหา ส่วนมากมักเกิดขึ้นขณะนอนหลับ โดยจะมีอาการขบเคี้ยวฟันแน่น หรือฟันบนและฟันล่างถูซ้ำไปมา ผู้ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการดังกล่าวกว่า 80-100 ครั้งในแต่ละคืน ส่วนใหญ่จะพบในวัยเด็กมากกว่าวัยผู้ใหญ่ คือประมาณ 15-40% ในขณะที่ผู้ใหญ่อยู่ที่ 8-10% โดยคนที่มีอาการมักไม่รู้ตัวจนกว่าจะเห็นผลกระทบต่อสุขภาพชัดเจน หรือมีคนข้าง ๆ ช่วยบอก

นอนกัดฟันคืออะไร
นอนกัดฟันเกิดจากอะไร

เช็คลิสว่าคุณมีอาการนอนกัดฟันหรือเปล่า?

  • รู้สึกตึง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณหน้า กราม
  • ปวดข้อต่อขากรรไกรบริเวณหน้าหู ขยับข้อต่อขากรรไกรลำบาก
  • ปวดศีรษะโดยไม่รู้สาเหตุ
  • มีการสึกกร่อนของฟัน
  • มีอาการเสียวฟันเวลาถูกของร้อนหรือเย็น หรือเวลาแปรงฟัน
  • มีรอยเส้นบาง ๆ ที่เคลือบฟัน
  • ฟันโยก
  • มีแผลที่กระพุ้งแก้มด้านใน
  • ปวดฟันรุนแรง เหงือกอักเสบ
  • ถ้าให้ทันตแพทย์ตรวจจะพบว่ามีฟันสึกผิดปกติ หรือมีฟันบิ่นแตก

สาเหตุของการนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร?

จากข้อมูลทางการแพทย์หรืองานศึกษาวิจัยต่าง ๆ ยังไม่มีการฟันธงอย่างชัดเจนว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหา เพียงแต่บอกว่าเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น 

  • ความเครียดจากการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน จนเกิดความวิตกกังวลก่อนนอน ทำให้ขบเคี้ยวฟันระหว่างนอนโดยไม่รู้ตัว
  • ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)
  • สภาพฟันที่ผิดปกติ มีปัญหาการสบฟัน เช่น ฟันซ้อนเก จุดสูงบนตัวฟันผิดปกติ สูญเสียฟันแต่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทนแทน ฟันเบี้ยว การสบฟัน
  • อายุ พบว่าในวันเด็ก 15-40%  มักจะนอนกัดฟันจนเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจะหายไปเอง
  • เกิดจากนิสัยส่วนตัวหรือบุคลิกภาพ เช่น คนที่ชอบการแข่งขัน สมาธิสั้น หรือมีนิสัยก้าวร้าว ที่มักพบว่าเพิ่มโอกาสในการนอนกัดฟัน
  • การใช้สารกระตุ้นต่าง ๆ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือสูบบุหรี่
  • ผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้าและยารักษาอาการทางจิต

จะเห็นว่าการนอนกัดฟัน เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เพราะฉะนั้นการรักษาจึงมีหลายวิธีการด้วยกัน

การรักษานอนกัดฟัน มี 3 แนวทางหลักๆ ดังนี้

  1. รักษาด้วยการบำบัด
    – เรียนรู้ที่จะจัดการกับความเครียดของตัวเอง เช่น หากิจกรรมเพื่อช่วยผ่อนคลาย ทำสมาธิ หาที่ปรึกษาเมื่อเกิดความเครียด
    – ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงการใช้สารกระตุ้นต่าง ๆ ฝึกฝนการวางตำแหน่งของปากหรือขากรรไกรให้เหมาะสม หรือฝึกนิสัยการนอนหลับให้มีคุณภาพมากขึ้น
  2. รักษาโดยใช้ยา
    การนอนกัดฟัน รักษาโดยวิธีนี้ยังต้องมีการค้นคว้าวิจัยอีกมาก เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ แต่โดยทั่วไปแล้วยาที่ใช้คือ
    – ยาคลายกล้ามเนื้อ โดยจะใช้กับบางรายก่อนนอน และจะใช้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ 
    – การฉีดโบท็อกซ์ สำหรับผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
  3. รักษาทางทันตกรรม
    – ใช้เฝือกสบฟันหรือฟันยาง (Splint) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันถูกทำลายจากการขบเน้นฟัน โดยทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ระหว่างนอนหลับ ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และยังลดอาการเกิดเสียงในข้อขากรรไกร
เฝือกสบฟัน (Splint)
เฝือกสบฟัน (Splint)

– การจัดฟัน เป็นวิธีการที่ช่วยแก้ปัญหาการนอนกัดฟันที่เกิดจากทันตกรรม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเรียงตัวของฟันที่ไม่เหมาะสม ฟันเสื่อมสภาพจนทำให้การบดเคี้ยวมีปัญหา โดยทันตแพทย์อาจแนะนำให้มีการปรับแต่งพื้นผิวฟัน จัดฟันหรือผ่าตัด

จัดฟันแก้ปัญหานอนกัดฟัน
จัดฟันแก้ปัญหานอนกัดฟัน

บทสรุปปัญหา นอนกัดฟันแก้ยังไง

หากสงสัยว่าตัวเองนอนกัดฟัน แนะนำว่าเริ่มจากเช็คลิส อาการของคุณก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างตรงจุด แล้วทั้งสุขภาพฟันและสุขภาพโดยรวมของคุณจะดีขึ้นจนคุณรู้สึกดี อย่าเพิกเฉยกับอาการนอนกัดฟัน หากมีปัญหาร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น นอนไม่หลับ มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวซาญเพื่อวินิจฉัย และรักษาที่เหมาะสม
ด้วยความหวังดีจากคลินิกทันตกรรมคอสเดนท์นะคะ

reference: คลินิกนิทราเวช จุฬา

บทความนี้เขียนขึ้นโดยทีมงานของคลินิกทันตกรรม COSDENT by SLC โดยบทความได้ส่งทีมทันตแพทย์ดูรายละเอียดเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว


COSDENT by SLC, MAKEOVER YOUR SMILE

dr santirach kiattivejsoonthorn dr dan
ท.พ. สันติราช เกียรติเวชสุนทร

ทันตแพทย์ / Dentist

คุณหมอ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เรื่องของออกแบบรอยยิ้ม เพื่อลดปัญหาความไม่มั่นใจ ให้กลายเป็นยิ้มที่สวยงามในแบบที่คนไข้ต้องการ ที่มีความเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง โดยการออกแบบและการดูแลสุขภาพฟันให้สมบูรณ์ โดยทุกๆรอยยิ้มเกิดขึ้นจาก ความเข้าใจของคนไข้ รวมถึง ทีมทันตแพทย์ทุกๆท่าน และทีมเจ้าหน้าที่ทุกๆคน

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
แฟนเพจ Facebook COSDENT by SLC
และติดตามเรื่องราวดีๆผ่านช่อง Youtube ของคลินิก

พิมพ์ค้นหาคลินิกผ่าน hashtag ใน Instagram และ Facebook จากคำเหล่านี้ได้
#cosdentbyslc #makeoveryoursmile 
#slcgroup #ทันตกรรมเพื่อความงาม
#คอสเดนท์ #แนะนำร้านทำฟัน
#ร้านทำฟันทองหล่อ
#ร้านทำฟันสยาม #โปรโมชั่นทำฟัน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
cosdent สาขาสยาม สแควร์วัน (คลิกดูรายละเอียดสาขา) 
tel: 093-882-3536
cosdent สาขา พระรามเก้า (คลิกดูรายละเอียดสาขา)
tel: 064-592-4928 
line : @cosdent

เพิ่มเพื่อน

About The Author

Scroll to Top