ปัญหาสุขภาพฟันในนักกีฬา: 8 เทคนิคดูเเลป้องกันฟันผุฉบับนักกีฬา

dental health for athletes cover

แม้แต่นักกีฬาที่ร่างกายได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอตามตารางเวลาออกกำลังกาย ดื่มน้ำเเละควบคุมปริมาณสารอาหารในแต่ละมื้อให้เหมาะสมตามหลักโภชนาการ มีนักกายภาพบำบัด รวมถึงแพทย์การกีฬาคอยดูเเลสุขภาพให้พร้อมกับการแข่งขัน เราก็ยังพบว่านักกีฬามีปัญหาสุขภาพฟันได้เช่นกัน

ด้วยความที่สุขภาพช่องปากอาจจะยังไม่ได้ส่งผลโดยตรงในทันที จึงมักเป็นปัญหาที่ถูกมองข้าม แต่การละเลยความสะอาดในช่องปาก ก็อาจส่งผลเสียตามมาได้อีกมาก

ปัญหาสุขภาพฟันที่พบในนักกีฬา มีดังนี้

  • กลิ่นปาก
  • เคลือบฟันสึกกร่อน
  • ฟันผุ
  • เหงือกอักเสบ
  • ฟันบิ่นเเตก
ปัญหาสุขภาพฟันในนักกีฬา
ปัญหาสุขภาพฟันในนักกีฬา

สาเหตุของปัญหาสุขภาพฟันในนักกีฬา คือ

1. เคลือบฟันกร่อนจากเครื่องดื่มเกลือแร่ อาหารเสริม อาหารเจล ที่มีกรดและน้ำตาลสูง

ชั้นเคลือบฟันเเละเนื้อฟันของเราประกอบด้วยธาตุแคลเซียมเเละฟอสเฟต ซึ่งถูกกัดกร่อนได้ภายใต้ภาวะความเป็นกรด (ค่า pH ต่ำกว่า 5.5) ซึ่งอาหาร/เครื่องดื่มที่ขายตามท้องตลาดมีความเป็นกรดสูง

– เครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีจำหน่ายทั่วไป มีค่า pH อยู่ที่ 2.4 – 4.5
– อาหารเจลสำหรับเล่นกีฬา หลายชนิดมีส่วนผสมของกรดมาลิกหรือกรดซิตริก
– น้ำอัดลม pH อยู่ที่ 2.5 – 3.6
– น้ำผลไม้ pH อยู่ที่ 3.4 – 3.6

นอกจากความเป็นกรดสามารถทำลายเคลือบฟันเเล้ว ส่วนผสมอย่างสารโซเดียมเบนโซเอตหรือโพแทสเซียมซอร์เบตที่เป็นสารกันบูดช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์ ก็ทำให้มีค่าpH สูงขึ้น การใส่น้ำตาลเติมความหวานก็จะเพิ่มความเสี่ยงฟันผุอีกด้วย 
คุณสามารถเช็คค่า PH จากเครื่องดื่มบำรุงกำลังเพิ่มเติมได้ที่นี่

เราพบว่าอัตราการสึกกร่อนของฟันสัมพันธ์กับการบริโภคเครื่องดื่มประเภทเกลือแร่ อาหารเสริม เจลคาร์โบไฮเดรต แม้ว่าจะให้ผลดีในแง่ของประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย เแต่ก็ควรระมัดระวังในการบริโภคด้วยเช่นกัน

2. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเเละพฤติกรรมการแปรงฟัน

นักกีฬาที่ออกกำลังกายเป็นระยะเวลานาน มักจะรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (CHO) ในเครื่องดื่มเกลือแร่ อาหารเสริม เจล และกัมมี่เพื่อเพิ่มพลังงาน แต่การที่นักกีฬาเว้นการแปรงฟันเป็นเวลาหลายชั่วโมงหลังการฝึก มีโอกาสที่ทำให้คาร์โบไฮเดรตที่เหลือในช่องปากเปลี่ยนสภาพเป็นอาหารให้กับแบคทีเรียในช่องปาก นำไปสู่อาการฟันผุและเหงือกอักเสบตามมาได้

3. ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ ปากแห้ง

ปกติเเล้วร่างกายสร้างน้ำลายเพื่อปกป้องฟัน เจือจางให้สภาวะกรดให้เป็นกลาง ชะล้างอาหารที่ติดตามผิวฟันกำจัดอาหารและจุลินทรีย์ ช่วยปรับสภาพเคลือบฟันเพิ่มแร่ธาตุรวมถึงแคลเซียมและฟอสเฟตที่จำเป็นสำหรับฟันขึ้นมาใหม่

ปัจจัยเสี่ยงของนักกีฬาคือภาวะขาดน้ำ เพราะการออกกำลังกายทำให้ร่างกายสูญเสียเหงื่อมาก นอกจากนี้ยังมีการหายใจทางปากในระหว่างที่ออกเเรงทำให้ปากแห้ง การไหลเวียนของน้ำลายก็จะลดลง ช่องปากถูกกัดกร่อนจากเครื่องดื่มหรืออาหารที่เป็นกรดได้ เป็นช่วงที่แบคทีเรียทำงานได้ดี เพิ่มโอกาสในการสึกกร่อนและฟันผุได้มากขึ้น

4. ดื่มเกลือแร่บ่อยๆ ระหว่างฝึกซ้อม

การจิบเครื่องดื่มเกลือแร่ กินอาหารเสริมระหว่างออกกำลังกาย หรือดื่มน้ำอัดลมบ่อยๆ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เคลือบฟันสึกกร่อน ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มเกลือแร่ อาหารเสริม อาหารเจลต่างๆ จะเกาะติดเนื้อฟันซึ่งเป็นภาวะที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตเเละเป็นอาหารของแบคทีเรียในช่องปาก เพิ่มความเสี่ยงของฟันผุ

ในงานวิจัยระบุว่านักกีฬาที่ฝึกซ้อมนานยิ่งมีความเสี่ยงต่อฟันผุจากการบริโภคอาหารหรือของเหลวบ่อยขึ้นซึ่งอาจทำให้ฟันเสียหายได้ 

5. อาการบาดเจ็บทางทันตกรรมจากการเล่นกีฬา

กีฬาที่เสี่ยงต่อการปะทะหรือบาดเจ็บจากการแตกหักของฟัน เช่น ชกมวย จักรยานภูเขา ฟุตบอล บาสเกตบอล เบสบอล สเกตบอร์ด ฮอคกี้ ยิมนาสติก
แนะนำว่าสวมฟันยาง (Mouthguard) ช่วยป้องกันการแตกหักของฟัน การกัดริมฝีปาก หรือถ้านักกีฬาอยู่ในระหว่างจัดฟันหรือใส่ทันตกรรมอื่นๆ (เช่น ฟันปลอม สะพานฟัน)ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใส่อุปกรณ์อื่นเพื่อปกป้องฟันเหล่านั้นด้วยเช่นกัน

8 เทคนิคในการดูเเลฟันฉบับนักกีฬา

เทคนิคดูเเลป้องกันฟันผุฉบับนักกีฬา
เทคนิคดูเเลป้องกันฟันผุฉบับนักกีฬา
  1. แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้ง ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
    แนะนำว่าแปรงฟันอย่างน้อย 60 นาทีหลังจากดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มระหว่างออกกำลังกาย หรือน้ำอัดลม เพื่อไม่ให้เป็นการทำร้ายผิวฟัน
  2. ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง
  3. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน
  4. ลดการบริโภคเครื่องดื่มเกลือแร่ อาหารเสริม อาหารเจลสำหรับออกกำลังกายที่มีกรดและน้ำตาลสูงระหว่างฝึกซ้อม หากต้องรับประทาน ใช้หลอดดูดเพื่อลดการสัมผัสเครื่องดื่มเกลือแร่กับฟัน ควรดื่มน้ำตามเพื่อเจือจางความเป็นกรด ให้ปากชุ่มชื้นและป้องกันเคลือบฟัน 
  5. แนะนำให้ถอนฟันกรามที่สาม (ฟันคุด) หากมีแนวโน้มว่าจะติดเชื้อ
  6. ใช้ฟันยางป้องกันฟันกระทบกระเทือน หมั่นทำความสะอาดฟันยางบ่อยๆ 
  7. ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยช่องปากเป็นพิเศษในช่วงที่มีการฝึกติดต่อกันนานๆ
  8. หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่เป็นกรดหรือเครื่องดื่มทันทีก่อนนอน
  9. ทานอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพฟัน

บทความนี้เขียนขึ้นโดยทีมงานของคลินิกทันตกรรม COSDENT by SLC โดยบทความได้ส่งทีมทันตแพทย์ดูรายละเอียดเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว


COSDENT by SLC, MAKEOVER YOUR SMILE

dr santirach kiattivejsoonthorn dr dan
ท.พ. สันติราช เกียรติเวชสุนทร

ทันตแพทย์ / Dentist

คุณหมอ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เรื่องของออกแบบรอยยิ้ม เพื่อลดปัญหาความไม่มั่นใจ ให้กลายเป็นยิ้มที่สวยงามในแบบที่คนไข้ต้องการ ที่มีความเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง โดยการออกแบบและการดูแลสุขภาพฟันให้สมบูรณ์ โดยทุกๆรอยยิ้มเกิดขึ้นจาก ความเข้าใจของคนไข้ รวมถึง ทีมทันตแพทย์ทุกๆท่าน และทีมเจ้าหน้าที่ทุกๆคน

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
แฟนเพจ Facebook COSDENT by SLC
และติดตามเรื่องราวดีๆผ่านช่อง Youtube ของคลินิก

พิมพ์ค้นหาคลินิกผ่าน hashtag ใน Instagram และ Facebook จากคำเหล่านี้ได้
#cosdentbyslc #makeoveryoursmile 
#slcgroup #ทันตกรรมเพื่อความงาม
#คอสเดนท์ #แนะนำร้านทำฟัน
#ร้านทำฟันทองหล่อ
#ร้านทำฟันสยาม #โปรโมชั่นทำฟัน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
cosdent สาขาสยาม สแควร์วัน (คลิกดูรายละเอียดสาขา) 
tel: 093-882-3536
cosdent สาขา พระรามเก้า (คลิกดูรายละเอียดสาขา)
tel: 064-592-4928 
line : @cosdent

Add us on Line Messenger

About The Author

Scroll to Top