ครอบฟัน คืออะไร มีกี่แบบ แก้ปัญหาอะไรบ้าง

ครอบฟัน คืออะไร ได้ยินคุ้นหู แต่ไม่รู้ว่ามีกี่แบบ กี่ประเภท ถ้าคุณมีปัญหา ฟันผุ, ฟันแตก, ฟันหัก หรือ ฟันบิ่น แบบที่เกิดการทำร้ายเนื้อฟันไป คุณรู้มั้ยว่าเราสามารถฟื้นฟูเนื้อฟันที่เหลืออยู่ให้แข็งแรง กลับใช้งานได้ตามปกติ ด้วยการทำครอบฟัน ถ้ายังสงสัยอยู่ ยังมีข้อสงสัยให้คุณอีกว่า จะเลือกครอบฟันแบบไหนดี? ต้องดูแลหลังทำครอบฟันยังไง ทำครอบฟันเจ็บมั้ย ทุกคำถามนี้มีคำตอบ ติดตามอ่านบทความที่เรารวมเรื่องครอบฟันแบบง่ายๆกันเลยค่ะ

ครอบฟัน (Dental Crowns) คือ อะไร

ครอบฟัน คือ วัสดุทันตกรรมที่ทำขึ้นเพื่อใช้ทดแทนเนื้อฟันที่เสียหาย ด้วยการกรอเนื้อฟันที่เสียหายบางส่วนออก เเละสวมครอบฟันลงไปบนฟันทั้งซี่ เพื่อเสริมความแข็งแรงให้เนื้อฟันแท้ที่ยังคงอยู่ ครอบฟันจัดเป็นฟันปลอมแบบติดเเน่น ทำจากวัสดุหลายประเภทตั้งเเต่โลหะ เซรามิก เรซิน เซอร์โคเนีย

ครอบฟัน (crown)
ครอบฟัน (crown)

ทำไมถึงต้องใส่ครอบฟัน?

ในเคสที่ฟันคนไข้เสียหายมาก เช่น ฟันหัก บิ่น มีฟันผุ เนื้อฟันแตก มีส่วนของเนื้อฟันธรรมชาติเหลืออยู่น้อย จนไม่สามารถบูรณะได้ด้วยการอุด เราใช้การสร้างครอบฟันเป็นทำหน้าบดเคี้ยวแทนฟันธรรมชาติ เพื่อปกป้องเนื้อฟันเดิมที่เหลืออยู่ และเป็นรักษารากฟันไว้ ให้คุณใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถทำเพื่อความสวยงามในฟันหน้าได้ด้วยการทำครอบฟันนั้นจะทำบนฟันธรรมชาติที่มีราก หรือทำบนรากเทียมเท่านั้น

ใครต้องใส่ครอบฟันบ้าง?

  • ฟันเสียหาย สูญเสียเนื้อฟัน เช่น ฟันแตก ฟันหัก ฟันบิ่น
  • ฟันผุลึก หรือผุเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถรักษาด้วยการอุดได้
  • มีปัญหาที่อุดฟันหลุดบ่อยๆ 
  • คนไข้ที่รักษารากฟันหรือทำรากเทียม ต้องทำครอบฟันเพื่อทดแทนฟันแท้
  • คนไข้ที่ต้องการปรับแต่ง แก้ไขสีฟันและรูปร่างฟันให้สวยงาม ก็ใช้การทำครอบฟันหน้าได้
ครอบฟันเหมาะกับใคร
ครอบฟันเหมาะกับใคร

ครอบฟันมีกี่แบบ?

เราแบ่งประเภทการทำครอบฟัน ตามวัสดุที่ใช้เป็น 5 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  1. ครอบฟันทำจากโลหะล้วน (Full Metal Crown) เช่น ทองคำ ทองคำขาว นิเกิล-โครเมียม
    จุดเด่นคือ ความแข็งแรงและทนทานมากที่สุดในบรรดาครอบฟันทั้งหมด การบิ่นแตกแทบจะเกิดขึ้นน้อยมากๆ เเละด้วยความที่มีสีโลหะสังเกตได้ง่าย เราจึงใช้ครอบฟันโลหะในตำแหน่งฟันซี่ใน เช่น ฟันกรามที่ต้องการความทนทานในการบดเคี้ยวสูง
  2. ครอบฟันเซรามิกล้วน (All-ceramic crown) จุดเด่นคือ ครอบฟันมีความเงางาม ใกล้เคียงกับสีฟันธรรมชาติมาก จึงเป็นที่นิยมใช้ในฟันหน้า หรือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนไข้ที่แพ้โลหะ ด้วยความแข็งแรงระดับปานกลาง ข้อเสียครอบฟันเซรามิก จึงไม่เหมาะกับคนที่นอนกัดฟัน เพราะอาจการบิ่นแตกได้
  3. ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิก (Porcelain-fused-to-metal crown) เป็นการใช้ครอบฟันโลหะเป็นโครงสร้างหลัก เคลือบด้วยเซรามิกเพื่อให้มีลักษณะสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติ จุดเด่น คือเป็นฟันที่มีความแข็งเเรงมากขึ้นจากครอบฟันเซรามิกล้วน และได้สีฟันที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากขึ้น
  4. ครอบฟันเรซินล้วน (All-resin crown) ทำจากวัสดุเรซิน คล้ายกับพลาสติก มีความแข็งแรงปานกลาง แต่มีโอกาสแตกหักได้ง่ายกว่าครอบฟันชนิดอื่น จึงมักใช้เป็นครอบฟันชั่วคราวระหว่างที่รอติดครอบฟันตัวจริง จุดเด่น ตัวนี้จะเป็นเรื่องราคาที่ถูกกว่าครอบฟันแบบอื่น เพราะใช้ใส่ชั่วคราว
  5. ครอบฟันเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel Crown) มีลักษณะเป็นครอบฟันสำเร็จรูปทำจากสแตนเลส ใช้เวลาทำเพียงครั้งเดียว และกรอแต่งไม่นาน ไม่ต้องพิมพ์ปาก เหมาะกับเด็กที่มีฟันน้ำนม เพราะขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อน เเละครอบฟันจะหลุดออกเมื่อฟันแท้ขึ้น
ครอบฟัน (Crown)

เลือกครอบฟันแบบไหนดี?

การเลือกครอบฟันอาจจะต้องพิจารณาตำแหน่งที่ทำครอบฟัน

ทำครอบฟันหน้าควรเลือกแบบไหนดี?

การทำครอบฟันหน้า สามารถใช้ได้ทั้งครอบฟันแบบเซรามิกล้วนและครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิก
แต่แนะนำว่าใช้ครอบฟันแบบเซรามิก จะได้ความเงางามเหมือนกับฟันธรรมชาติที่สุด ครอบฟันเซรามิกให้ความสวยงามเเละการดูแลที่ค่อนข้างง่าย เพราะไม่ติดสีจากอาหารที่รับประทาน และไม่ทำให้เหงือกคล้ำขึ้นเพราะ ไม่มีส่วนประกอบของโลหะ และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบบเรซิน

crown
เคสคนไข้แก้ไขครอบฟันหน้า

ทำครอบฟันกรามเลือกแบบไหนดี?

ฟันกรามเป็นตำแหน่งที่ต้องรับแรงบดเคี้ยวอาหาร จึงควรใช้ครอบฟันโลหะ เพราะมีความยืดหยุ่นสูงและรองรับแรงบดเคี้ยวได้ดี มีความแข็งแรงทนทานมาก

ครอบฟันวัสดุอื่นๆ
ครอบฟันกรามจากวัสดุโลหะ

ทำครอบฟัน ข้อดี

  • ช่วยฟื้นฟูบูรณะฟันที่แตก/หัก ให้กลับมาแข็งแรงใช้งานได้ตามปกติ
  • มีความคงทนมากกว่าการอุดฟัน เพราะเป็นการครอบติดลงบนตัวฟัน
  • ป้องกันปัญหาฟันแตกหัก
  • ดูแลรักษาง่ายเหมือนฟันธรรมชาติ
  • อายุการใช้งานยาวนาน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ และการดูแลรักษา)
  • แก้ไขเรื่องความสวยงามของสีฟันและรูปร่างฟันได้

ทำครอบฟัน ข้อเสีย

  • มีการกรอเนื้อฟันออกมามากกว่าการอุดฟัน
  • มีราคาสูงกว่า และใช้เวลาในการรักษานานกว่าการอุดฟัน
  • อาจพบอาการเสียวฟันหลังจากทำครอบฟันได้

ครอบฟันใส่ซี่ไหนได้บ้าง?

จริงๆแล้วการทำครอบฟันสามารถรักษาบูรณะฟันได้ทุกซี่ทั้งฟันหน้าและฟันกราม

  • ทำครอบฟันหน้า กรณีที่ฟันหน้ามีรอยผุเป็นบริเวณกว้าง หรือคนไข้ที่อุดฟันหน้าแล้วซี่ที่อุดมักจะหลุดบ่อยๆ ก็จะพิจารณาทำครอบฟันเพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
  • ทำครอบฟันกราม ครอบฟันกรามน้อย ฟันกรามเป็นฟันที่อยู่ตำแหน่งหลัง ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร จึงต้องรับเเรงบดเคี้ยวมาก เรามักพบฟัญหาฟันกรามแตก ฟันกรามผุได้ กรณีที่ฟันกรามผุลึกมาก จะต้องรักษาที่รากฟันให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงทำครอบฟันกรามสวมทับฟันซี่ที่เสียหาย

ขั้นตอนการใส่ครอบฟัน

การทำครอบฟันอาจต้องไปพบทันตแพทย์ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันของแต่ละคน

ครั้งที่ 1  ทันตแพทย์เช็คสุขภาพเหงือก ตรวจเช็คการสบฟัน เอกซ์เรย์ช่องปาก
วางแผนการรักษา พิมพ์ปาก และให้คนไข้เลือกสีฟันที่ต้องการ
ทำการกรอแต่งฟัน (ในขั้นตอนนี้มีการยาชาเฉพาะที่) ตามชนิดของครอบฟัน จากนั้นจะทำการใส่ครอบฟันชั่วคราวให้กับคนไข้

ครั้งที่ 2  ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายคนไข้มาทำการลองครอบฟัน อาจมีการกรอแต่งเล็กน้อยระหว่างใส่ เพื่อให้ครอบฟันสวมลงตัวฟันได้พอดี

ตรวจเช็คการสบฟัน ดูรอยต่อระหว่างขอบครอบฟันและผิวเคลือบฟัน บริเวณสัมผัสระหว่างครอบฟันและฟันธรรมชาติให้เรียบร้อย หลังจากนั้นจะทำการยึดครอบฟันโดยใช้กาวยึดทางทันตกรรม

หลังจากนั้น ทันตแพทย์จะทำการนัด followup ติดตามผลคนไข้ เพื่อตรวจเช็ตว่ามีปัญหา หรืออาการไม่พึงประสงค์หลังติดครอบฟันมั้ย แนะนำว่าหลังจากนัดคนไข้ควรกลับมาตรวจเช็คทุก 6 เดือนเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจเช็คครอบฟันให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ

วีเนียร์ฟัน vs ครอบฟัน

เปรียบเทียบครอบฟัน vs วีเนียร์ฟัน

ความแตกต่างครอบฟันวีเนียร์ฟัน
รูปแบบวัสดุทันตกรรมที่ใช้สวมลงบนฟันทั้งซี่มีลักษณะเป็นแผ่นเคลือบผิวฟัน ใช้แปะบริเวณหน้าของบนผิวฟัน
จุดประสงค์ในการใช้งานเน้นเรื่องการใช้งานบดเคี้ยวอาหาร และเพื่อความสวยงามเน้นเรื่องความสวยงาม
แก้ปัญหาเรื่อง– ฟันเสียหายมาก เช่น ฟันแตก ฟันหัก ฟันบิ่น
– ปัญหาฟันผุ ที่ไม่สามารถอุดได้
– รักษารากฟัน/รากเทียม ร่วมกับทำครอบฟัน
แก้ปัญหาฟันที่บกพร่องไม่เยอะ เช่น
– สีฟันไม่สม่ำเสมอ ฟันดำ ฟันเหลือง
– มีรูปร่างเรียงตัวไม่สวย ฟันห่าง ฟันซ้อนเก เล็กน้อย
– ฟันบิ่น แตกเล็กน้อย
บริเวณที่ทำสามารถทำครอบฟันได้ในทุกตำแหน่งฟัน เช่น ฟันหน้า ฟันกรามส่วนใหญ่จะทำบริเวณฟันด้านหน้าเพื่อความสวยงาม

ดูบทความอธิบายความแตกต่างของครอบฟันและวีเนียร์ฟันเพิ่มเติม

ติดต่อคลินิก

ดูรายละเอียดเพื่อติดต่อคลินิกและนัดเข้ามาปรึกษา และ แก้ไขรอยยิ้มของคุณ

วิธีการดูแลครอบฟันหลังทำ

  1. หลังทำครอบฟันเสร็จ ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง/เหนียวภายใน 24 ชั่วโมง หลังการติดยึดการครอบฟัน แนะนำรับประทานอาหารอ่อนไปก่อน
  2. ลดอาการบวมด้วยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เกลือ 1 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง หรือทางยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
  3. ในส่วนของการดูแลความสะอาดฟันหลังทำครอบฟัน สามารถดูแลได้เหมือนฟันปกติ แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันได้ตามปกติ
  4. บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก ป้องกันการสะสมของแบคทีเรีย
  5. หมั่นพบทันตแพทย์ปีละสองครั้ง เพื่อเช็คสุขภาพช่องปากโดยรวม เเละเช็คครอบฟันว่ามีประสิทธิภาพอยู่ ไม่มีการสึกหรอ

อย่าลืมว่าการทำครอบฟันไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสฟันผุหรือเป็นโรคเหงือกนะคะ หลังทำครอบฟันเรายังต้องการดูแลความสะอาดช่องปากให้ดีอยู่เสมอ

ครอบฟัน ราคา เท่าไหร่

ประเภทและราคาของการครอบฟันแต่ล่ะแบบ

ครอบฟัน ประเภทต่างๆราคา
ครอบฟันชั่วคราว2,000 ฿
ครอบฟันบนรากเทียม37,500 ฿ / ซี่
ครอบฟันเด็ก SSC3,000 ฿
รื้อครอบฟัน2,000 ฿ / ซี่
ราคาครอบฟันแต่ล่ะประเภท

ทำครอบฟันเจ็บมั้ย ความรู้สึกหลังทำครอบฟันเป็นยังไง

ขั้นตอนการทำครอบฟัน ในนขณะที่ทันตแพทย์กรอฟันนั้นจะมีการให้ยาชาเพื่อป้องกันการเจ็บปวด แต่หลังติดครอบฟันเสร็จ อาการเจ็บหลังครอบฟันที่คนไข้อาจรู้สึก คือปวดฟันซี่ที่ครอบฟัน หรือบริเวณรอบๆ เหงือก สามารถรับประทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์แนะนำเพื่อบรรเทาอาการได้
ในคนไข้บางราย อาการหลังครอบฟันที่พบอาจมีเสียวฟันได้ แต่อาการเสียวฟันจะหายไปเองระหว่างนี้ แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการดื่ม หรือรับประทานอาหารที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด เลี่ยงอาหารที่มีความเป็นกรดสูงไปก่อน

คำถามที่พบบ่อยๆ ในการทำครอบฟัน

1. ทำครอบฟันเจ็บมั้ย?

ในระหว่างที่ทันตแพทย์รักษานั้นจะมีการให้ยาชาเพื่อลดอาการเจ็บปวดหรือเสียวฟัน เพราะต้องมีการกรอเนื้อฟันบางส่วนออก หลังจากยาชาหมดฤทธิ์ อาการเจ็บหลังครอบฟันที่คนไข้อาจรู้สึก คือปวดฟันซี่ที่ครอบฟัน หรือบริเวณรอบๆ เหงือก สามารถรับประทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์แนะนำเพื่อบรรเทาอาการได้

2. ครอบฟันอยู่ได้นานมั้ย?

โดยเฉลี่ยอายุการใช้งานของครอบฟันอยู่ที่ 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกใช้ทำครอบฟัน การดูแลรักษาและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไข้

เพื่อยืดอายุการใช้งานครอบฟัน จึงควรหมั่นดูเเลความสะอาดแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟันสม่ำเสมอ เลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายครอบฟันเสียหาย เช่น
– เคี้ยวอาหารแข็ง เช่น น้ำแข็ง
– ใช้ฟันแกะหรืองัดของเเข็ง
– กัดเล็บ
– นอนกัดฟัน ถ้าคนไข้นอนกัดฟัน คุณหมอจะทำเฝือกสบฟันสำหรับใส่ตอนนอนให้

3. อาการที่พบหลังทำครอบฟันมีอะไรบ้าง?

อาการหลังทำครอบฟันใหม่ ภายหลังฤทธิ์ยาชาหมด อาจมีอาการเสียวฟัน ปวดเหงือกหรือฟันข้างเคียงได้ คนไข้สามารถทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์แนะนำ สำหรับผู้มีอาการเสียวฟัน แนะนำให้ใช้ยาสีฟันเพื่อป้องฟันอาการเสียวฟัน

4. ปัญหาหลังจากทำครอบฟันมีอะไรบ้าง?

– ครอบฟันแตก ครอบฟันที่ทำจากเซรามิกหรือพอร์ซเลน สามารถแตกได้
กรณีที่บิ่นเล็กน้อย สามารถซ่อมแซมได้โดยใช้คอมโพสิตเรซิ่น
กรณีที่มีรอยแตกมาก ทันตแพทย์จะแนะนำครอบฟันใหม่แทน
– ครอบฟันหลุด
จากการครอบฟันอาจจะยึดไม่พอดีกับฟัน ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคนไข้แต่ละคน ถ้าครอบฟันหลุดควรติดต่อทันตแพทย์ทันที ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าสามารถติดครอบฟันกลับไปที่เดิมหรือต้องทำครอบฟันใหม่
– ครอบฟันหลวม จากการที่ตัวยึดครอบฟันหลุดออก อาจทำให้เกิดช่องที่แบคทีเรียเจริญเติบโต ทำให้ฟันผุในที่สุด หากคุณรู้สึกว่าครอบฟันหลวม ควรปรึกษาทันตแพทย์ทันที
– มีอาการแพ้ครอบฟันที่ผสมโลหะหรือพอร์ซเลน กรณีนี้พบได้ค่อนข้างน้อยมาก แต่หากมีอาการแพ้ ควรรีบติดต่อทันตแพทย์ทันที
– มีรอยดำบริเวณแนวเหงือก อาจเกิดได้ในคนไข้ที่ใช้ครอบฟันแบบโลหะเคลือบเซรามิก สีดำๆของโลหะอาจปรากฎให้เห็นเป็นเส้นดำๆตาแนวเหงือกได้
– เหงือกร่น เหงือกอักเสบ เหงือกสีดำคล้ำขึ้นได้
จากการติดครอบฟันเก่าที่มีร่องให้เศษอาหารสะสมง่าย ถ้าทำความสะอาดระหว่างช่องเหงือกได้ไม่ดีพอก็ทำให้แบคทีเรียสะสม เกิดโรคตามมาได้

อ่านเคสแก้ครอบฟันเก่า สาเหตุเหงือกอักเสบ เหงือกร่น
https://www.cosdentbyslc.com/dental-prosthodontics/alekay-review/

5. ทำครอบฟันที่ไหนดี/แก้ครอบฟันที่ไหนดี?

ควรเลือกทำครอบฟันที่คลินิกที่มีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีมาตรฐาน ความปลอดภัย เทคโนโลยีทันตกรรมที่พร้อมรับการรักษา สามารถตรวจเช็คสุขภาพช่องปากได้อย่างละเอียด วิเคราะห์วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง เพราะการทำครอบฟันต้องให้แน่ใจว่าก่อนว่าฟันซี่ที่แตกบิ่นเสียหาย รากฟัน โพรงประสาทฟันไม่มีการอักเสบ และออกแบบครอบฟันได้ตรงตามสรีระฟัน แนวขอบเหงือกเพื่อให้เข้ากับฟันธรรมชาติของคนไข้

คลินิกทันตกรรมคอสเดนท์ เป็นศูนย์ทันตกรรมครบวงจร ที่ช่วยการรักษาฟื้นฟูสุขภาพฟันแข็งแรง ให้คำแนะนำในการดูแลฟันหลังทำ คอยตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก พร้อมดูแลออกแบบรอยยิ้มให้สวยงามเข้ากับรูปแบบฟันของคนไข้แต่ละบุคคล

6. ทำยังไงถ้าครอบฟันหลุด?

ให้คุณเก็บชิ้นส่วนครอบฟันที่หลุดไว้ อย่าพยายามใส่กลับเข้าไปเอง เพราะเศษครอบฟันอาจไปอุดตันทางเดินหายใจเป็นอันตรายได้ ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป คุณหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าสามารถยึดครอบฟันกลับเข้าที่เดิมได้เลยหรือต้องมีการทำครอบฟันใหม่

หวังว่าบทความเกี่ยวกับการทำครอบฟันนี้จะช่วยตอบข้อสงสัยใครหลายๆ ที่กำลังดูข้อมูลสำหรับตัวเองหรือคนรู้จัก ครอบฟันช่วยแก้ไขปัญหาเนื้อฟันเสียหายด้วยกสนเติมเนื้อฟันให้ใช้งานได้ดังเดิม และยังช่วยปรับรูปลักษณ์ของฟันให้สวยขึ้น เพิ่มความมั่นใจ

7. ครอบฟันราคาประมาณเท่าไหร่

ราคาครอบฟันหน้า 1 ซี่ อยู่ที่ 2,000 ฿

ข้อมูลการทำครอบฟันเพิ่มเติม https://thaiprosth.or.th/

ข้อมูลการทำฟัน วีเนียร์

บทความนี้เขียนขึ้นโดยทีมงานของคลินิกทันตกรรม COSDENT by SLC โดยบทความได้ส่งทีมทันตแพทย์ดูรายละเอียดเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว


COSDENT by SLC, MAKEOVER YOUR SMILE

dr santirach kiattivejsoonthorn dr dan
ท.พ. สันติราช เกียรติเวชสุนทร

ทันตแพทย์ / Dentist

คุณหมอ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เรื่องของออกแบบรอยยิ้ม เพื่อลดปัญหาความไม่มั่นใจ ให้กลายเป็นยิ้มที่สวยงามในแบบที่คนไข้ต้องการ ที่มีความเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง โดยการออกแบบและการดูแลสุขภาพฟันให้สมบูรณ์ โดยทุกๆรอยยิ้มเกิดขึ้นจาก ความเข้าใจของคนไข้ รวมถึง ทีมทันตแพทย์ทุกๆท่าน และทีมเจ้าหน้าที่ทุกๆคน

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
แฟนเพจ Facebook COSDENT by SLC
และติดตามเรื่องราวดีๆผ่านช่อง Youtube ของคลินิก

พิมพ์ค้นหาคลินิกผ่าน hashtag ใน Instagram และ Facebook จากคำเหล่านี้ได้
#cosdentbyslc #makeoveryoursmile 
#slcgroup #ทันตกรรมเพื่อความงาม
#คอสเดนท์ #แนะนำร้านทำฟัน
#ร้านทำฟันทองหล่อ
#ร้านทำฟันสยาม #โปรโมชั่นทำฟัน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
cosdent สาขาสยาม สแควร์วัน (คลิกดูรายละเอียดสาขา) 
tel: 093-882-3536
cosdent สาขา พระรามเก้า (คลิกดูรายละเอียดสาขา)
tel: 064-592-4928 
line : @cosdent

Add us on Line Messenger
Scroll to Top